ที่มา (กติกาแฮนด์บอล ปี ค.ศ. 2005 – 2007, 2550)
ขอขอบคุณ สมาคมแฮนด์บอลแห่งประเทศไทย
ขอขอบคุณ สมาคมแฮนด์บอลแห่งประเทศไทย
กติกาข้อที่ 1 สนามแข่งขัน ( Playing Court )
1.1 สนามแข่งขัน (ดูรูปที่ 1) มีขนาด ความยาว 40 เมตร ความกว้าง 20 เมตร ประกอบไปด้วยพื้นที่ เขตประตู 2 เขต (ดู 1.4 และ 6) และเขตผู้เล่น 1 เขต เส้นที่ยาวกว่าเรียกว่า เส้นข้าง และเส้นที่สั้นกว่าเรียกว่าเส้นประตู (อยู่ระหว่างเสาประตู)หรือ เส้นนอกเส้นประตู (ทั้ง2ข้างของประตู) มีเขตพื้นที่ปลอดภัยอยู่รอบๆ สนาม ด้านเส้นข้างมีพื้นที่ขนาดกว้างอย่างน้อย 1เมตร และด้านหลังเส้นประตูมีพื้นที่ขนาดกว้างอย่างน้อย 2 เมตร
ลักษณะเฉพาะของสนามแข่งขันจะต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างการแข่งขันที่จะทำให้ทีมหนึ่งทีมใดได้เปรียบ
1.2 ประตู (ดูรูป 2 และ 3) วางอยู่บนพื้นกึ่งกลางของเส้นนอกเส้นประตู ประตูจะต้องมีความแข็งแรงตั้งอยู่บนพื้นหรือติดกับฝาผนังด้านหลัง มีส่วนสูง 2 เมตรและกว้าง 3 เมตร โดยวัดที่ขอบด้านใน เสาประตูทั้งสองจะถูกเชื่อมด้วยคานประตู ขอบนอกของเสาประตูจะถูกวางอยู่บนขอบนอกของเส้นประตู เสาประตูและคานประตูจะต้องมีขนาดพื้นที่หน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ
8 เซนติเมตร เสาทั้ง 3 ด้าน (ด้านหน้าและด้านข้างสองด้าน) ต้องมองเห็นได้อย่างชัดเจนในสนามโดยจะต้องทาสีเป็นแถบสองเส้นที่ชัดเจนและมองเห็นได้เด่นชัดตัดกับส่วนประกอบด้านหลังประตูประตูจะต้องมีตาข่ายที่มัดติดแน่นเพื่อลูกบอลที่ถูกยิงเข้าประตูยังคงอยู่ในประตูเป็นปกติ
8 เซนติเมตร เสาทั้ง 3 ด้าน (ด้านหน้าและด้านข้างสองด้าน) ต้องมองเห็นได้อย่างชัดเจนในสนามโดยจะต้องทาสีเป็นแถบสองเส้นที่ชัดเจนและมองเห็นได้เด่นชัดตัดกับส่วนประกอบด้านหลังประตูประตูจะต้องมีตาข่ายที่มัดติดแน่นเพื่อลูกบอลที่ถูกยิงเข้าประตูยังคงอยู่ในประตูเป็นปกติ
1.3 ทุกเส้นบนสนามเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ที่เป็นเขตปิดของพื้นที่นั้น เส้นประตูที่อยู่ระหว่างเสาประตูทั้งสองจะมีความกว้าง 8 เซนติเมตร (ดูรูป 2) ส่วนเส้นอื่นๆ ทั้งหมดจะมีความกว้าง 5 เซนติเมตร เส้นระหว่างสองพื้นที่ที่อยู่ติดกันอาจจะถูกแทนที่ด้วยเส้นสีที่แตกต่างออกไประหว่างพื้นที่อื่นที่อยู่ติดกันในสนาม
1.4 ด้านหน้าของประตูมีเขตประตู (ดูรูปที่ 1) เขตประตูถูกกำหนดขอบข่ายโดยเส้นเขตประตู
(เส้น6 เมตร) มีวิธีการทำดังนี้
(เส้น6 เมตร) มีวิธีการทำดังนี้
ก) เส้นตรงยาว 3 เมตรอยู่หน้าประตู เส้นนี้จะขนานกับเส้นประตูและอยู่ห่าง 6 เมตร (วัดจากริมนอกสุดของเส้นประตูมาที่ริมด้านหน้าสุดของเส้นเขตประตู)
ข) ลากเส้นเศษหนึ่งส่วนสี่ของวงกลมทั้งสองข้าง แต่ละข้างจะมีเส้นรัศมี 6 เมตร(วัดจากขอบเสาริมนอกสุดมุมด้านใน) ลากเส้นเชื่อมต่อจากปลายเส้นตรง 3 เมตร มายังเส้นนอกเส้นประตู (ดูรูปที่ 1 และ 2)
1.5 เส้นส่งกินเปล่า (เส้น 9 เมตร) เป็นเส้นประ ลากเส้นตรง 3 เมตร นอกเส้นเขตประตู
ทั้งส่วนของเส้นประและช่องว่างระหว่างเส้นมีขนาดยาว 15 เซนติเมตร (ดูรูปที่ 1)
ทั้งส่วนของเส้นประและช่องว่างระหว่างเส้นมีขนาดยาว 15 เซนติเมตร (ดูรูปที่ 1)
1.6 เส้น 7 เมตร มีความยาว 1 เมตรอยู่ด้านหน้าของประตูและและอยู่ห่างจากประตู 7 เมตร (วัดจากริมนอกสุดของเส้นประตูมาถึงริมด้านหน้าสุดของเส้น 7 เมตร) (ดูรูปที่ 1)
1.7 เส้นควบคุมผู้รักษาประตู(เส้น 4 เมตร)เป็นเส้นตรงยาว 1 เซนติเมตร อยู่ด้านหน้าประตูขนานกับเส้นประตูและอยู่ห่าง 4 เมตร (วัดจากริมนอกของเส้นประตูมาที่ด้านหน้าของเส้น 4 เมตร) (ดูรูปที่ 1)
1.8 เส้นกลางสนาม เป็นเส้นเชื่อมต่อจุดกึ่งกลางของเส้นข้างทั้งสองเส้น (ดูรูปที่ 1 และ 3)
1.9 เส้นการเปลี่ยนตัว(เป็นส่วนหนึ่งของเส้นข้าง)สำหรับแต่ละทีมจะขยายจากเส้นกลางสนามไปตามเส้นข้างห่างจากเส้นกลางสนาม 4.50 เมตร ที่ปลายเส้นการเปลี่ยนตัวจะเพิ่มเส้นตรงที่ขนานกับเส้นกลางสนามโดยลากเส้นตรงจากเส้นข้างเข้าไปด้านในสนาม 15 เซนติเมตร และลากเส้นตรงต่อออกมานอกสนาม 15 เซนติเมตร
รูปที่ 1
รูปที่ 2
ประตูด้านหน้า
ประตูด้านข้าง
กติกาข้อที่ 2 เวลาในการแข่งขัน สัญญาณหมดเวลา และ การขอเวลานอก (Playing Time , Final Signal and Time-Out)
เวลาในการแข่งขัน ( Playing Time )
เวลาในการแข่งขัน ( Playing Time )
2.1 เวลาการแข่งขันปกติของผู้เล่นที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป แข่งขัน 2 ครึ่งๆละ 30 นาที พักครึ่งเวลาตามปกติ 10 นาที เวลาการแข่งขันตามปกติของทีมระดับเยาวชนอายุ 12-16 ปี แข่งขัน2 x 20 นาที และในระดับ อายุ 8-12 ปี แข่งขัน 2 x 20 นาที ทั้งสองรุ่นพักระหว่างครึ่งตามปกติ 10 นาที
2.2 การเล่นในช่วงต่อเวลาพิเศษ ถ้าการแข่งขันเสมอกันเมื่อหมดเวลาการแข่งขันปกติ แล้วต้องตัดสินหาผู้ชนะก่อนการแข่งขันในช่วงเวลาพิเศษให้พัก 5 นาที แข่งขันต่อ 2 ครึ่งๆละ 5 นาที พักระหว่างครึ่ง 1 นาที
ถ้าการแข่งขันเสมอกันอีกเมื่อหมดเวลาการแข่งขันในช่วงต่อเวลาพิเศษครั้งแรก ก่อนการแข่งขันในช่วงต่อเวลาพิเศษครั้งที่ 2 ให้พัก 5 นาที แข่งขันต่ออีก 2 ครึ่งๆละ 5 นาที พักระหว่างครึ่ง 1 นาที ถ้าการแข่งขันเสมอกันอีก การตัดสินหาผู้ชนะให้เป็นไปตามระเบียบ ของการแข่งขันในครั้งนั้น ในกรณีเช่นนี้จะใช้การตัดสินโดยการยิงลูก 7 เมตร เป็นการตัดสินเพื่อหาผู้ชนะ ขั้นตอนให้เป็นไปตามด้านล่างนี้
ถ้าการแข่งขันเสมอกันอีกเมื่อหมดเวลาการแข่งขันในช่วงต่อเวลาพิเศษครั้งแรก ก่อนการแข่งขันในช่วงต่อเวลาพิเศษครั้งที่ 2 ให้พัก 5 นาที แข่งขันต่ออีก 2 ครึ่งๆละ 5 นาที พักระหว่างครึ่ง 1 นาที ถ้าการแข่งขันเสมอกันอีก การตัดสินหาผู้ชนะให้เป็นไปตามระเบียบ ของการแข่งขันในครั้งนั้น ในกรณีเช่นนี้จะใช้การตัดสินโดยการยิงลูก 7 เมตร เป็นการตัดสินเพื่อหาผู้ชนะ ขั้นตอนให้เป็นไปตามด้านล่างนี้
ข้อเสนอแนะ ถ้าการยิงลูก 7 เมตรถูกใช้ในการเล่นหลังหมดการต่อเวลาพิเศษ เพื่อหาผู้ชนะ ผู้เล่นที่ไม่ถูกสั่งพัก , ไม่ถูกตัดสิทธิ์ หรือ ไม่ถูกไล่ออกเมื่อหมดเวลาการแข่งขัน ถึงจะมีสิทธิ์ในการยิงลูก 7 เมตร โดยแต่ละทีมจะ
คัดเลือกผู้เล่นมา 5 คน แต่ละคนจะยิงได้ครั้งเดียวโดยสลับกับผู้เล่นของอีกทีม ทีมไม่สามารถร้องขอหรือกำหนดให้ทีมเป็นผู้ยิงก่อนได้ ผู้รักษาประตูอาจจะถูกเลือกอย่างเสรีและเปลี่ยนตัวกับผู้เล่นที่มีคุณสมบัติถูกต้องในการเข้าร่วมยิงลูก 7 เมตร ผู้เล่นที่ร่วมในการยิงลูก 7 เมตร อาจจะเป็นได้ทั้งผู้ยิงและผู้รักษาประตู
ผู้ตัดสินจะเป็นผู้เลือกประตูที่จะใช้ในการยิง 7 เมตร และจะทำการเสี่ยงเหรียญโดยผู้ที่ชนะการ เสี่ยงจะเป็นผู้เลือกที่จะยิงก่อนหรือยิงที่หลังก็ได้ ในทางตรงข้ามเหตุการณ์ในทำนองเดียวกันจะถูกนำมาใช้ในการยิงลูก 7 เมตรที่เหลือต่อไปถ้าการยิงลูก 7 เมตร ยังคงดำเนินต่อไปเพราะคะแนนยังคงเสมอกันภายหลังการยิงครบใน 5 คนแรก
เช่น ถ้าเหตุการณ์ยังดำเนินต่อไป แต่ละทีมจะเลือกผู้เล่นมาอีกทีมละ 5 คนบางคนหรือทั้งหมด อาจจะเป็นคนเดียวกับผู้ยิงในครั้งแรกสำหรับตัวอย่างความต่อเนื่องกัน แต่ละทีมจะเลือกผู้เล่นมาอีกทีมละ 5 คน ทั้งหมดหรือบางคน อาจจะเป็นคนเดียวกับผู้ยิงในรอบแรก การคัดเลือกผู้เล่น 5 คนนี้อาจใช้เวลาต่อเนื่องได้นานเท่าที่จำเป็น แต่อย่างไรก็ตามผู้ชนะจะถูกตัดสินในทันทีในขณะที่มีความแตกต่างของจำนวนประตูภายหลังจากที่ทั้งสองทีมมีจำนวนผู้ยิงที่เท่ากัน
ผู้เล่นอาจจะถูกตัดสิทธิ์เพิ่มมากขึ้นจากการเข้าร่วมในการยิงลูก 7 เมตร ในกรณีที่เป็นการบ่งชี้หรือกระทำการไม่มีน้ำใจนักกีฬาซ้ำอีก (ดูข้อ 16.13)ถ้าผู้เล่นที่ถูกพิจารณาในเรื่องนี้ได้ถูกคัดเลือกให้อยู่ในกลุ่ม 5 คนของผู้ที่ยิงลูก 7 เมตรนี้ ทีมต้องคัดเลือกผู้ยิงลูก 7 เมตรคนอื่นมาแทน
สัญญาณหมดเวลา ( Final Signal )
2.3 เวลาในการแข่งขันจะเริ่มพร้อมกับสัญญาณนกหวีดของผู้ตัดสินดังขึ้นสำหรับการส่งลูกเริ่มเล่นเวลาในการแข่งขันจะหมดลงพร้อมกับสัญญาณหมดเวลาอัตโนมัติจากนาฬิกาสกอร์บอร์ดดังขึ้น หรือสัญญาณจากผู้จับเวลา ถ้าไม่มีสัญญาณใดๆ ดังขึ้น ผู้ตัดสินจะให้สัญญาณนกหวีดเป็นตัวชี้ว่าเวลาในการแข่งขันหมดลงแล้ว
ข้อเสนอแนะ ถ้านาฬิกาที่สกอร์บอร์ดกับสัญญาณหมดเวลาอัตโนมัติไม่สามารถจะทำงานตามปกติได้ ผู้จับเวลาจะใช้นาฬิกาตั้งโต๊ะหรือนาฬิกาจับเวลาแทน และเมื่อหมดเวลาการแข่งขัน ผู้จับเวลาจะเป็นผู้ให้สัญญาณหมดเวลาการแข่งขัน (ดูข้อ 18.2 ย่อหน้าที่ 2)
2.4 การฝ่าฝืนกติกาและการกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาก่อนหรือพร้อม ๆ กับสัญญาณหมดเวลาดังขึ้น(ในครึ่งเวลาแรก หรือหมดเวลาการแข่งขัน รวมทั้งในช่วงต่อเวลาพิเศษ) ต้องถูกลงโทษ ถึงแม้ว่าผลของการส่งลูกกินเปล่า (ภายใต้กติกาข้อ 13.1) หรือผลของการยิงลูก 7 เมตร ไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้จนกระทั่งมีสัญญาณหมดเวลาดังขึ้น
ในทำนองเดียวกันจะต้องให้มีการส่งใหม่อีกครั้ง ถ้าสัญญาณหมดเวลาดังขึ้นอย่างถูกต้อง (ในครึ่งเวลาแรก หรือหมดเวลาการแข่งขัน รวมทั้งในช่วงต่อเวลาพิเศษ) ในขณะที่กำลังทำการส่งลูกกินเปล่าหรือกำลังจะยิงหรือลูก 7 เมตร หรือในขณะที่ลูกบอลกำลังลอยอยู่ในอากาศ
ทั้งหมดในทุกกรณีนี้ผู้ตัดสินต้องให้เป็นหมดเวลาการแข่งขันเท่านั้นภายหลังการส่งลูกกินเปล่าหรือการยิงลูก 7 เมตรใหม่อีกครั้งภายใต้ผลการส่งหรือการยิงลูกนั้นๆ
2.5 การส่งลูกกินเปล่า (หรือการกลับมาส่งลูกกินเปล่าใหม่) ภายใต้กติกาข้อ 2.4 ข้อจำกัด
เฉพาะนี้นำมาพิจาณาประยุกต์ใช้กับตำแหน่งผู้เล่นและผู้เล่นที่ถูกสับเปลี่ยนเข้ามา ยกเว้นเปลี่ยนตัว ผู้เล่นตามปกติที่เป็นไปตามกติกาข้อ 4.4 การเปลี่ยนตัวผู้เล่นของทีมที่ได้ส่งลูกกินเปล่าอนุญาตให้เปลี่ยนตัวได้เพียง 1 คนเท่านั้น ถ้ามีการกระทำผิดจะถูกลงโทษภายใต้กติกาข้อ 4.5 ย่อหน้าที่ 1
นอกจากนี้เพื่อนร่วมทีมของผู้ส่งจะต้องอยู่ห่างจากผู้ส่งลูกบอลไม่น้อยกว่า 3 เมตร เป็นการบวกเพิ่มออกมาห่างจากเส้นส่งกินเปล่าของฝ่ายตรงข้าม (ดูกติกาข้อ 13.7 ,15.6 ) ตำแหน่งของ
ผู้เล่นฝ่ายป้องกันให้เป็นไปตามกติกาข้อ 13.8
ผู้เล่นฝ่ายป้องกันให้เป็นไปตามกติกาข้อ 13.8
2.6 ผู้เล่นและเจ้าหน้าที่ประจำทีมที่ยังเหลืออยู่ให้อยู่ภายใต้การลงโทษเฉพาะบุคคลสำหรับการกระทำผิดหรือการไม่มีน้ำใจนักกีฬาในขณะที่กำลังมีการส่งลูกกินเปล่าหรือการยิงลูก 7 เมตร ในพฤติกรรมที่ได้อธิบายไว้ในกติกาข้อ 2.4 – 2.5 อย่างไรก็ตามการทำผิดในระหว่างนี้จนไม่สามารถส่งลูกกินเปล่าหรือยิงลูก 7 เมตรได้จะนำไปสู่การส่งลูกกินเปล่าในทิศทางตรงกันข้าม
2.7 ถ้าผู้ตัดสินพิจารณาว่าผู้จับเวลาให้สัญญาณหมดเวลาเร็วเกินไป (ในครึ่งเวลาแรก หรือหมดเวลาการแข่งขันรวมทั้งในช่วงต่อเวลาพิเศษ) ผู้ตัดสินทั้งสองคนจะต้องให้ผู้เล่นอยู่ในสนามและเล่นต่อไปในเวลาที่เหลืออยู่
ทีมที่กำลังครอบครองลูกบอลอยู่ในขณะที่สัญญาณหมดเวลาดังเร็วเกินไป จะยังคงได้ ครอบครองลูกบอลอีกครั้งเมื่อเกมการแข่งขันกลับมาเล่นใหม่ ถ้าลูกบอลไม่อยู่ในการเล่นเกมการแข่งขันจะกลับมาเริ่มใหม่ด้วยการส่งลูกตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ถ้าลูกบอลอยู่ในการเล่นเกมการแข่งขันจะกลับมาเริ่มใหม่ด้วยการส่งลูกกินเปล่าตามกติกาข้อ 13.4 ก - ข
ถ้าเกมการแข่งขันในครึ่งแรก (หรือในการเล่นเวลาพิเศษครึ่งแรก) ถูกทำให้ยุติลงช้าเกินไปในครึ่งเวลาหลังจะต้องเล่นให้สั้นลงสอดคล้องกับเวลาการเล่นที่เกินไปในครึ่งแรก ถ้าการเล่นในครึ่งเวลาหลัง (หรือในการเล่นเวลาพิเศษครึ่งหลัง) ถูกยุติลงให้ช้าเกินไปแล้วผู้ตัดสินไม่อยู่ในตำแหน่งที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้เลย
เวลานอก (Time Out)
2.8 เวลานอกเป็นสิ่งจำเป็นต้องกระทำ เมื่อ
ก) มีการสั่งพัก 2 นาที , การตัดสิทธิ์ผู้เล่น หรือ การไล่ออก
ข) อนุญาตให้มีการขอเวลานอกของทีม
ค) มีสัญญาณนกหวีดจากผู้จับเวลาหรือผู้ควบคุมการแข่งขัน
ง) มีการปรึกษากันระหว่างผู้ตัดสินทั้งสองคนที่มีความจำเป็นตามกติกาข้อ 17.7
โดยปกติเวลานอกจะให้ตามสถานการณ์อื่นๆอย่างแน่นอนขึ้นอยู่กับสถานการณ์นั้นการละเมิดกติกาในระหว่างเวลานอกมีผลเช่นเดียวกับการละเมิดกติกาในระหว่างเวลาการแข่งขัน
(ดูกติกาข้อ 16.13 ย่อหน้าที่ 1)
(ดูกติกาข้อ 16.13 ย่อหน้าที่ 1)
2.9 ในหลักการผู้ตัดสินจะเป็นผู้ตัดสินใจว่านาฬิกาจะหยุดเป็นเวลานอกหรือเริ่มจับเวลาใหม่ การขัดจังหวะเวลาในการแข่งขันจะถูกส่งสัญญาณไปที่ผู้จับเวลาโดยการเป่านกหวีดสั้น 3 ครั้งพร้อมทำสัญญาณมือที่ 16
อย่างไรก็ตามในกรณีที่จำเป็นต้องให้เป็นเวลานอกตามกติกาข้อ 2.8 เมื่อเกมการแข่งขันหยุดลงโดยสัญญาณนกหวีดจากผู้จับเวลาหรือผู้ควบคุมการแข่งขัน(ดูกติกาข้อ 2.8 ก-ข) ผู้จับเวลาจะต้องหยุดเวลาบนสกอร์บอร์ดทันทีโดยไม่ต้องรอการยืนยันจากผู้ตัดสินอีก
สัญญาณนกหวีดจะต้องถูกเป่าเสมอเพื่อเป็นการชี้ว่าเริ่มเกมการแข่งขันภายหลังจาก เวลานอก (ดูกติกาข้อ 15.5ข)
ข้อเสนอแนะ สัญญาณนกหวีดจากผู้จับเวลาหรือผู้ควบคุมการแข่งขันมีประสิทธิภาพในการหยุดเกมการแข่งขันถ้าผู้ตัดสิน(และผู้เล่น)ไม่เข้าใจว่าเกมการแข่งขันนั้นต้องหยุดลงทันทีแล้วการกระทำบางอย่างในสนามภายหลังสัญญาณนกหวีดที่ดังขึ้นจะถูกยกเลิกเป็นโมฆะ ตามความหมายนี้ก็คือ ถ้ามีการได้ประตูภายหลังสัญญาณนกหวีดที่ดังขึ้นมาจากโต๊ะเทคนิค การได้ประตูนั้นจะต้องถูกยกเลิก ในทำนองเดียวกันถ้ามีการตัดสินให้เป็นการส่งของทีมใดทีมหนึ่ง ( การยิงลูก 7 เมตร, การส่งลูกกินเปล่า, การส่งลูกเข้าเล่น, การส่งลูกเริ่มเล่น หรือการส่งลูกจากผู้รักษาประตู ) ก็จะถือว่าเป็นโมฆะเช่นกัน เกมการแข่งขันจะถูกเริ่มเล่นแทนด้วยผลของสถานการณ์การเล่นที่ยังคงอยู่ในขณะเดียวกับที่ผู้จับเวลาหรือผู้ควบคุมการแข่งขันให้สัญญาณนกหวีด ( มันจะถูกรักษาไว้เป็นความทรงจำว่าเป็นตัวแทนเหตุผลสำหรับการพัวพันกับเวลานอกของทีมหรือการกระทำผิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนตัวผู้เล่น )
อย่างไรก็ตาม.. การลงโทษบุคคลที่ถูกให้โดยผู้ตัดสินในระหว่างช่วงเวลาของสัญญาณนกหวีดที่มาจากโต๊ะเทคนิคและในเวลาที่ผู้ตัดสินหยุดการเล่นและยกเลิกการกระทำที่ดำเนินต่อมานั้น
สิ่งนี้นำมาประยุกต์ใช้โดยไม่คำนึงถึงชนิดของความผิดและไม่คำนึงถึงความรุนแรงของ การลงโทษนั้น
2.10 แต่ละทีมมีสิทธิ์ได้รับเวลานอกของทีม 1 ครั้งๆละ 1 นาที ในแต่ละครึ่งเวลาการแข่งขันในเวลาแข่งขันปกติเท่านั้น แต่ในการเล่นต่อเวลาพิเศษไม่มีการได้รับเวลานอกของทีม
กติกาข้อที่ 3 ลูกบอล ( The Ball )
3.1 ลูกบอลจะต้องทำจากหนังหรือวัสดุสังเคราะห์ มีลักษณะเป็นทรงกลม ผิวจะต้องไม่เป็นมันหรือลื่น (ดูกติกาข้อ 17.3)
3.2 ขนาดของลูกบอล เส้นรอบวงและน้ำหนัก จะถูกใช้โดยกลุ่มทีมที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. ลูกบอลที่มีเส้นรอบวงยาว 58 - 60 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 425 - 475 กรัม (ขนาดมาตรฐาน IHF เบอร์ 3 )ใช้กับทีมประเภทชายทั่วไปและเยาวชนชาย (อายุมากว่า 16 ปี)
2. ลูกบอลที่มีเส้นรอบวงยาว 54 - 56 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 325 - 375 กรัม (ขนาดมาตรฐาน IHF เบอร์ 2 )ใช้กับทีมประเภทหญิงทั่วไป ,เยาวชนหญิง(อายุมากว่า 14 ปี)และ เยาวชนชาย (อายุ 12 - 16 ปี )
3. ลูกบอลที่มีเส้นรอบวงยาว 50 - 52 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 290 - 330 กรัม (ขนาดมาตรฐานIHFเบอร์ 1)ใช้กับทีมเยาวชนหญิง(อายุ 8 - 14 ปี)และยุวชนชาย (อายุ 8 - 12 ปี )
ข้อเสนอแนะ สิ่งที่จำเป็นเฉพาะสำหรับลูกบอลที่จะถูกใช้อย่างเป็นทางการในเกมการแข่งขันระดับนานาชาติได้ถูกอธิบายไว้แล้วในข้อกำหนดเกี่ยวกับลูกบอลของสหพันธ์แฮนด์บอลนานาชาติ (IHF Ball regulations)
ขนาดและน้ำหนักของลูกบอลที่ถูกใช้ในการแข่งขันมินิแฮนด์บอล ไม่สามารถนำมาใช้ในกติกาการเล่นตามปกติได้
3.3 ในการแข่งขันทุกครั้งจะต้องมีลูกบอลที่สามารถใช้ได้อย่างน้อย 2 ลูก ลูกบอลสำรองจะต้องวางไว้ในที่หาได้ง่ายทันทีบนโต๊ะผู้จับเวลาในระหว่างเวลาการแข่งขัน ลูกบอลจะต้องถูกต้องเป็นไปตามกติกาข้อ 3.1-2
3.4 ผู้ตัดสินเป็นคนตัดสินใจว่าเมื่อใดจะใช้ลูกบอลสำรองในกรณีนี้ผู้ตัดสินจะนำลูกบอลสำรองกลับเข้ามาสู่การเล่นอย่างรวดเร็ว เพื่อให้มีการขัดจังหวะการเล่นให้น้อยที่สุดและเป็นการหลีกเลี่ยงเวลานอกด้วย
กติกาข้อที่ 4 ทีม , การเปลี่ยนตัว , อุปกรณ์การเล่น (The Team, Substitutions, Equipment)
ทีม (The Team)
4.1 ทีมหนึ่งประกอบด้วยผู้เล่นที่มีได้ถึง 14 คน
จำนวนผู้เล่นไม่มากกว่า 7 คนอาจจะปรากฏในสนามได้ในเวลาเดียวกันผู้เล่นที่เหลือเป็น
ผู้เล่นสำรองตลอดเวลาในระหว่างการแข่งขันในทีมจะต้องมีผู้เล่นคนหนึ่งในสนามแสดงตนเป็นผู้รักษาประตู ผู้เล่นที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้รักษาประตูอาจจะกลับมาเป็นผู้เล่นในสนามได้ตลอดเวลา ในทำนองเดียวกันผู้เล่นในสนามอาจจะกลับมาเป็นผู้รักษาประตูได้ตลอดเวลา เช่นกัน (อย่างไรก็ตาม ให้ดูกติกาข้อ 4.4 และ 4.7)
ผู้เล่นสำรองตลอดเวลาในระหว่างการแข่งขันในทีมจะต้องมีผู้เล่นคนหนึ่งในสนามแสดงตนเป็นผู้รักษาประตู ผู้เล่นที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้รักษาประตูอาจจะกลับมาเป็นผู้เล่นในสนามได้ตลอดเวลา ในทำนองเดียวกันผู้เล่นในสนามอาจจะกลับมาเป็นผู้รักษาประตูได้ตลอดเวลา เช่นกัน (อย่างไรก็ตาม ให้ดูกติกาข้อ 4.4 และ 4.7)
ทีมหนึ่งจะต้องมีผู้เล่นอย่างน้อย 5 คนในสนามในขณะที่จะเริ่มการแข่งขัน
จำนวนผู้เล่นของทีมสามารถเพิ่มได้ถึง 14 คนตลอดเวลาในระหว่างการแข่งขัน รวมไปถึงการเล่นในช่วงต่อเวลาพิเศษด้วย
เกมการแข่งขันยังคงดำเนินต่อไปถึงแม้ในทีมจะมีผู้เล่นในสนามลดลงเหลือน้อยกว่า 5 คน
มันจะอยู่ในการตัดสินใจของผู้ตัดสินที่จะเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งว่าจะให้ดำเนินการแข่งขันต่อหรือจะให้เกมการแข่งขันยุติลงอย่างถาวร (ดูกติกา ข้อ 17.12)
มันจะอยู่ในการตัดสินใจของผู้ตัดสินที่จะเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งว่าจะให้ดำเนินการแข่งขันต่อหรือจะให้เกมการแข่งขันยุติลงอย่างถาวร (ดูกติกา ข้อ 17.12)
4.2 ทีมหนึ่งอนุญาตให้มีเจ้าหน้าที่ประจำทีมได้ไม่เกิน 4 คนในระหว่างการแข่งขันเจ้าหน้าที่ประจำทีมไม่สามารถถูกแทนที่ได้ในระหว่างการแข่งขันแต่ละทีมจะต้องปรากฏว่ามีเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบทีม(responsible team official) และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบทีมคนนี้คนเดียวเท่านั้นจะได้รับอนุญาตให้ติดต่อพูดกับผู้จับเวลา หรือผู้บันทึกคะแนน และอาจเป็นได้ที่ติดต่อกับ
ผู้ตัดสิน
ผู้ตัดสิน
โดยทั่วไปแล้ว ไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ประจำทีมเข้าไปในสนามในระหว่างเกมการแข่งขัน การทำผิดกติกาในข้อนี้จะถูกลงโทษในลักษณะการกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา (ดูกติกาข้อ 8.4 , 16.1ค , 16.3 ง , และ16.6ก) เกมการแข่งขันจะเริ่มเล่นใหม่ด้วยการส่งลูกกินเปล่าของทีมฝ่ายตรงข้าม (ดูกติกาข้อ 13.1ก-ข)
ก่อนที่เกมการแข่งขันจะเริ่มขึ้น เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบทีมจะต้องมั่นใจว่าไม่มีบุคคลอื่นใด (ที่มากกว่า 4 คน)ลงทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่ของทีม และผู้เล่นที่ถูกส่งชื่อให้เข้าร่วมในการแข่งขัน (ดูกติกาข้อ 4.3)ได้มาปรากฏตัวในบริเวณพื้นที่การเปลี่ยนตัวแล้ว การกระทำผิดในกติกาข้อนี้จะนำไปสู่การลงโทษแบบขั้นก้าวหน้าที่สูงขึ้น (progressive punishment) สำหรับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบทีม (ดูกติกาข้อ 16.1ค, 16.3ง , และ 16.6ก)
4.3 ผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมที่ถูกส่งรายชื่อจะได้เข้าร่วมการแข่งขัน ถ้าเขาปรากฏตัวก่อนเริ่มเกมการแข่งขันและมีชื่อรวมอยู่ในใบบันทึกคะแนน ผู้เล่นและเจ้าหน้าที่ประจำทีมที่มาถึงภายหลังจากที่ได้เริ่มเกมการแข่งขันไปแล้ว จะต้องได้รับอนุญาตในการเข้าร่วมการแข่งขันจากผู้จับเวลาหรือผู้บันทึกคะแนน และต้องมีชื่อในใบบันทึกคะแนนด้วย
โดยหลักการแล้วผู้เล่นที่มีชื่อเข้าร่วมการแข่งขันอาจจะเข้าไปในสนามโดยการผ่านเส้นเปลี่ยนตัวของทีมตนเองได้ตลอดเวลา (อย่างไรก็ตามให้ดูกติกาข้อ 4.4 และ 4.6)
เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบทีมจะต้องมั่นใจว่าจะมีเฉพาะผู้เล่นที่มีชื่อเข้าร่วมการแข่งขันเท่านั้นที่เข้าไปในสนาม การทำผิดกติกาข้อนี้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบทีมจะถูกลงโทษว่าเป็นการกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา (ดูกติกาข้อ 13.1ก - ข , 16.1ค ,16.3ง และ 16.6ค )
โดยหลักการแล้วผู้เล่นที่มีชื่อเข้าร่วมการแข่งขันอาจจะเข้าไปในสนามโดยการผ่านเส้นเปลี่ยนตัวของทีมตนเองได้ตลอดเวลา (อย่างไรก็ตามให้ดูกติกาข้อ 4.4 และ 4.6)
เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบทีมจะต้องมั่นใจว่าจะมีเฉพาะผู้เล่นที่มีชื่อเข้าร่วมการแข่งขันเท่านั้นที่เข้าไปในสนาม การทำผิดกติกาข้อนี้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบทีมจะถูกลงโทษว่าเป็นการกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา (ดูกติกาข้อ 13.1ก - ข , 16.1ค ,16.3ง และ 16.6ค )
การเปลี่ยนตัวผู้เล่น (Player Substitutions)
4.4 ผู้เล่นอาจจะเข้ามาในสนามได้ตลอดเวลาและกระทำซ้ำได้บ่อยๆ (อย่างไรก็ตามให้ดูกติกาข้อ 2.5) โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้จับเวลา หรือผู้บันทึกทราบก่อนล่วงหน้า แต่ต้องรอจนกว่าผู้เล่นที่จะถูกเปลี่ยนตัวออกมานอกสนามให้เรียบร้อยก่อน(ดูกติกาข้อ 4.5)
ผู้เล่นที่ต้องการเปลี่ยนตัวออกและเข้ามาในสนามบ่อยๆกระทำได้โดยผ่านเส้นการเปลี่ยนตัวของทีมตนเอง (ดูกติกาข้อ 4.5) เช่นเดียวกันสิ่งจำเป็นเหล่านี้นำมาประยุกต์ใช้กับการเปลี่ยนตัวผู้รักษาประตูด้วย(ดูกติกาข้อ 4.7 และ 14.10 )
เช่นเดียวกัน.. กติกาการเปลี่ยนตัวผู้เล่นนำมาประยุกต์ใช้ในระหว่างที่มีเวลานอกด้วย (ยกเว้นในระหว่างการขอเวลานอกของทีม)
ผู้เล่นที่ต้องการเปลี่ยนตัวออกและเข้ามาในสนามบ่อยๆกระทำได้โดยผ่านเส้นการเปลี่ยนตัวของทีมตนเอง (ดูกติกาข้อ 4.5) เช่นเดียวกันสิ่งจำเป็นเหล่านี้นำมาประยุกต์ใช้กับการเปลี่ยนตัวผู้รักษาประตูด้วย(ดูกติกาข้อ 4.7 และ 14.10 )
เช่นเดียวกัน.. กติกาการเปลี่ยนตัวผู้เล่นนำมาประยุกต์ใช้ในระหว่างที่มีเวลานอกด้วย (ยกเว้นในระหว่างการขอเวลานอกของทีม)
ข้อเสนอแนะ วัตถุประสงค์ของการมีเส้นเปลี่ยนตัวเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเป็นการเปลี่ยนตัวผู้เล่นที่เป็นระเบียบและยุติธรรม ไม่ได้มีเจตนาที่จะเป็นสาเหตุการลงโทษในสถานการณ์อื่นๆ สถานที่ที่ผู้เล่นก้าวเท้าข้ามเส้นข้างหรือเส้นนอกเส้นประตู (เส้นหลัง) ในลักษณะที่ผู้เล่นไม่ได้รับบาดเจ็บและปราศจากความตั้งใจที่จะเล่นเอาเปรียบคู่ต่อสู้(เช่น การส่งน้ำหรือผ้าเช็ดตัวที่ม้านั่งสำรองนอกเส้นเปลี่ยนตัว หรือออกนอกสนามในลักษณะท่าทางของการมีน้ำใจนักกีฬาเมื่อได้รับการถูกสั่งพักและข้ามเส้นข้างไปที่ม้านั่งสำรองแต่อยู่นอกเส้น 15 เซนติเมตร) ยุทธวิธีที่ฉลาดและการปฏิบัติต่อ ๆ กันมาที่ผิดกติกาของการออกนอกพื้นที่สนามนั้นถูกนำไปแบ่งแยกในกติกาข้อที่ 7.10
4.5 การเปลี่ยนตัวที่ผิดพลาดจะถูกลงโทษด้วยการถูกสั่งพัก 2 นาทีสำหรับผู้เล่นที่กระทำผิด ถ้ามีผู้เล่นมากกว่า 1 คนในทีมเดียวกันกระทำผิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนตัวในสถานการณ์เดียวกัน ผู้เล่นคนแรกที่กระทำผิดเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ถูกลงโทษ เกมการแข่งขันจะถูกเริ่มเล่นด้วยการส่งลูกกินเปล่าของฝ่ายตรงข้าม (ดูกติกาข้อ 13.1ก-ข)
4.6 ถ้ามีผู้เล่นเพิ่มเข้ามาในสนามโดยปราศจากการเปลี่ยนตัว หรือถ้าผู้เล่นกระทำผิดด้วยการรบกวนเกมการเล่นในพื้นที่เขตเปลี่ยนตัว ผู้เล่นนั้นจะถูกลงโทษสั่งพัก 2 นาที ดังนั้นทีมจะต้องลดจำนวนผู้เล่นในสนามลง 1 คนเป็นเวลา 2 นาที (นอกเหนือจากผู้เล่นที่เพิ่มเข้ามาในสนามนั้นจะต้องออกจากสนามไปก่อน )
ถ้าผู้เล่นเข้ามาในสนามในขณะที่กำลังอยู่ในเวลาที่ถูกสั่งพัก 2 นาที เขาจะถูกสั่งพักเพิ่มอีก 2 นาที การถูกสั่งพักนี้จะเริ่มในทันทีทันใด ดังนั้นทีมจะต้องลดผู้เล่นในสนามลงอีกในเวลาที่ทับซ้อนกันระหว่างการถูกสั่งพักในครั้งแรกกับครั้งที่สอง ทั้งสองกรณีนี้การแข่งขันจะเริ่มด้วยการส่งลูกกินเปล่าของผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม (ดูกติกาข้อ 13.1 ก-ข )
อุปกรณ์การเล่น ( Equipment )
4.7 ผู้เล่นทุกคนในทีมเดียวกัน(ที่เป็นผู้เล่นในสนาม)จะต้องสวมชุดเหมือนกันรวมทั้งสีและการออกแบบของทั้งสองทีมจะต้องมองเห็นแตกต่างกันอย่างชัดเจน ผู้เล่นทุกคนที่อยู่ในตำแหน่งผู้รักษาประตูในทีมเดียวกันจะต้องสวมชุดสีเดียวกัน โดยสีนั้นจะต้องแตกต่างอย่างชัดเจนกับผู้เล่นในสนามของทั้งสองทีมและแตกต่างจากผู้รักษาประตูของทีมตรงข้ามด้วย (ดูกติกา ข้อ 17.3)
4.8 ผู้เล่นจะต้องสวมเสื้อที่มีหมายเลขด้านหลังสูงไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร และมีหมายเลขด้านหน้าสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตรโดยใช้หมายเลข 1 ถึงหมายเลข 20
ผู้เล่นที่สับเปลี่ยนกันระหว่างผู้เล่นในสนามกับตำแหน่งผู้รักษาประตูจะต้องสวมใส่หมายเลขเดิมของตนเองของทั้งสองตำแหน่ง สีของหมายเลขจะต้องมองเห็นได้อย่างชัดเจนต่างจากสีและการออกแบบของเสื้อ
ผู้เล่นที่สับเปลี่ยนกันระหว่างผู้เล่นในสนามกับตำแหน่งผู้รักษาประตูจะต้องสวมใส่หมายเลขเดิมของตนเองของทั้งสองตำแหน่ง สีของหมายเลขจะต้องมองเห็นได้อย่างชัดเจนต่างจากสีและการออกแบบของเสื้อ
4.9 ผู้เล่นจะต้องสวมรองเท้ากีฬา ไม่อนุญาตให้สวมวัสดุที่สามารถเป็นอันตรายกับผู้เล่น ตัวอย่างเช่น เครื่องป้องกันศีรษะ,หน้ากาก,สร้อยข้อมือ,นาฬิกา,แหวน,ของแหลมที่มองเห็นได้ , สร้อยคอหรือสายโซ่สร้อยคอ,ต่างหู,แว่นตาที่ปราศจากสายรัดหรือไม่มีกรอบที่แข็งแรงหรือสวมใส่วัสดุอื่นใดที่อาจสามารถเป็นอันตรายได้ (ดูกติกาข้อ 17.3) แหวนแบนๆ,ต่างหูเล็กๆและของแหลมเล็กๆ ที่มองเห็นได้อาจจะได้รับอนุญาตให้ลงเล่นได้ถ้าถูกพันด้วยผ้าเทปรอบๆ สิ่งนั้นแต่ต้องไม่ยาวเกินไปจนอาจเป็นอันตรายต่อผู้เล่นคนอื่น ผ้าพันศีรษะถูกอนุญาตให้ใช้ได้ถ้ามันทำจากวัสดุที่นุ่ม หรือวัสดุยางที่ยืดหยุ่น ผู้เล่นที่ไม่ปฏิบัติตามกติกานี้จะไม่อนุญาตให้ลงเล่นจนกว่าเขาจะแก้ไขให้เรียบร้อยแล้ว
4.10 ผู้เล่นที่มีเลือดออกหรือมีเลือดอยู่บนร่างกายหรือบนเสื้อผ้าจะต้องออกนอกสนามทันทีและต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ(โดยการเปลี่ยนตัวตามปกติ) เพื่อทำการห้ามเลือดให้หยุด, ปิดบาดแผลให้เรียบร้อยและทำความสะอาดเลือดที่เปื้อนร่างกายและเสื้อผ้าให้เรียบร้อยผู้เล่นจะต้องไม่ได้กลับลงมาเล่นในสนามอีกจนกว่าจะทำตามสิ่งที่กล่าวข้างต้น ผู้เล่นที่ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ตัดสินที่ให้เป็นไปตามกติกาดังกล่าว จะเป็นการทำผิดในข้อไม่มีน้ำใจนักกีฬา
( ดูกติกาข้อ 8.4 , 16.1ค และ 16.3ค )
4.11 ในกรณีที่มีการบาดเจ็บ ผู้ตัดสินอาจจะอนุญาต (โดยแสดงสัญญาณมือที่ 16 และ 17)ให้บุคคลที่มีชื่อถูกส่งเข้าร่วมในการแข่งขันจำนวน 2 คน(ดูกติกาข้อที่ 4.3)เข้ามาในสนามได้ในระหว่างมีเวลานอก โดยมีจุดมุ่งหมายเฉพาะเพื่อการช่วยเหลือผู้เล่นที่บาดเจ็บของทีมเขาเท่านั้น ถ้ามีการเพิ่มบุคคลอื่นเข้ามาในสนามภายหลังมีคนเข้ามาในสนาม 2 คนเรียบร้อยแล้ว เขาจะถูกลงโทษในกรณีเดียวกับการเข้ามาในสนามที่ผิดกติกา ในกรณีของผู้เล่นให้ลงโทษภายใต้กติกาข้อ 4.6 และ ข้อ 16.3ค ในกรณีของเจ้าหน้าที่ประจำทีมให้ลงโทษภายใต้กติกาข้อ 4.2 , 16.1ค, 16.3ง และ 16.6ก ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในสนาม แต่แทนที่เขาจะช่วยเหลือผู้เล่นที่บาดเจ็บ กลับไปให้คำแนะนำกับผู้เล่น หรือเข้าไปหาฝ่ายตรงข้ามหรือผู้ตัดสิน จะถูกนำไปสู่การลงโทษในการกระทำผิดในลักษณะที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา (ดูกติกาข้อ 16.1ค, 16.3ค-ง และ 16.6ก )
กติกาข้อที่ 5 ผู้รักษาประตู (The Goalkeeper)
อนุญาตให้ผู้รักษาประตู
5.1 สัมผัสลูกบอลได้ด้วยทุกส่วนของร่างกายในขณะที่ทำการป้องกันภายในเขตประตู
5.2 เคลื่อนที่พร้อมกับลูกบอลภายในเขตประตูโดยปราศจากการอยู่ภายใต้การควบคุมตามกติกาของผู้เล่นในสนาม(ข้อ7.2-4, 7.7) แต่อย่างไรก็ตาม ไม่อนุญาตให้ผู้รักษาประตูถ่วงเวลาในการส่งลูกเข้าเล่นจากลูกส่งของผู้รักษาประตู (ดูข้อ6.4-5 , 12.2 และ 15.5ข)
5.3 ออกมานอกเขตประตูโดยปราศจากลูกบอลและเข้าร่วมเล่นเกมในเขตของผู้เล่นได้ และเมื่อออกมาเล่นแล้วผู้รักษาประตูจะต้องอยู่ภายใต้กติกาของผู้เล่นในเขตของผู้เล่น ผู้รักษาประตูจะถูกพิจารณาว่าออกมานอกเขตประตูก็ต่อเมื่อมีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายสัมผัสกับพื้นสนามนอกเขตประตู
5.4 ออกมานอกเขตประตูพร้อมกับลูกบอลและเล่นมันอีกครั้งในเขตของผู้เล่น ถ้าเขาไม่สามารถจัดการควบคุมลูกบอลได้
ไม่อนุญาตให้ผู้รักษาประตู
5.5 ป้องกันในลักษณะที่เป็นอันตรายกับฝ่ายตรงข้ามในขณะที่ทำการป้องกัน(ข้อ 8.2 , 8.5)
5.6 ออกจากเขตประตูพร้อมกับลูกบอลที่อยู่ในการควบคุมได้ สิ่งนี้จะนำไปสู่การส่งลูกกินเปล่า (ตามกติกาข้อ 6.1 , 13.1 และ 15.7 ย่อหน้าที่ 3) แต่ถ้าผู้ตัดสินเป่านกหวีดให้เป็นลูกส่งจากผู้รักษาประตูแล้ว สิ่งที่แตกต่างคือการส่งลูกจากผู้รักษาประตูจะได้ส่งซ้ำอีกครั้ง ( ข้อ 15.7 ย่อหน้าที่ 2) แต่อย่างไรก็ตามให้ดูการได้เปรียบในกติกาข้อ 15.7 ด้วย ถ้าผู้รักษาประตูสูญเสียการครอบ ครองลูกบอลนอกเขตประตูภายหลังจากข้ามเส้นเขตประตูออกมาพร้อมกับลูกบอลในมือ
5.7 สัมผัสลูกบอลที่วางหรือกลิ้งอยู่บนพื้นนอกเขตประตู ในขณะที่ตัวเองอยู่ในเขตประตู (ข้อ 6.1 , 3.1ก)
5.8 นำลูกบอลเข้ามาในเขตประตูในขณะที่วางหรือกลิ้งอยู่บนพื้นนอกเขตประตู(ข้อ 6.1 , 13.1ก)
5.9 อยู่ในเขตผู้เล่นแล้วกลับเข้ามาในเขตประตูพร้อมกับลูกบอล(ข้อ 6.1 , 13.1ก)
5.10 สัมผัสลูกบอลด้วยเท้าหรือส่วนของขาที่ต่ำกว่าเข่าในขณะที่ลูกบอลวางหรือกลิ้งอยู่บนพื้นในเขตประตู หรือในขณะที่กำลังเคลื่อนตรงออกไปในเขตผู้เล่น (ดู 13.1ก)
5.11 ข้ามเส้นควบคุมผู้รักษาประตู(เส้น 4 เมตร)หรือโผล่ยื่นออกมานอกเส้นทั้งสองข้าง ก่อนที่ลูกบอลจะหลุดออกจากมือของฝ่ายตรงข้ามที่กำลังยิงลูก 7 เมตร (ดู 14.9)
ข้อเสนอแนะ ผู้รักษาประตูวางเท้าข้างหนึ่งที่พื้นบนเส้นหรือหลังเส้นควบคุมผู้รักษาประตู (เส้น 4 เมตร)ได้ และเขาได้รับอนุญาตให้เคลื่อนเท้าอีกข้างหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายล้ำออกมานอกเส้นลอยอยู่ในอากาศได้
กติกาข้อที่ 6 เขตประตู (The Goal Area)
ข้อเสนอแนะ ผู้รักษาประตูวางเท้าข้างหนึ่งที่พื้นบนเส้นหรือหลังเส้นควบคุมผู้รักษาประตู (เส้น 4 เมตร)ได้ และเขาได้รับอนุญาตให้เคลื่อนเท้าอีกข้างหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายล้ำออกมานอกเส้นลอยอยู่ในอากาศได้
กติกาข้อที่ 6 เขตประตู (The Goal Area)
6.1 ผู้รักษาประตูเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในเขตประตูได้ (อย่างไรก็ตาม ดูกติกาข้อ 6.3) เขตประตูนั้นให้รวมถึงเส้นเขตประตูด้วย การพิจารณาการเข้าไปในเขตประตูให้ดูจากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายผู้เล่นสัมผัสเขตประตู
6.2 ผู้เล่นในสนามเข้าไปในเขตประตูจะถูกตัดสินดังนี้
ก) ผู้รักษาประตูได้ส่งลูก เมื่อผู้เล่นในสนามที่ครอบครองลูกบอลเข้าไปในเขตประตูหรือได้เปรียบจาการเล่นนั้นเข้าไปในเขตประตู
ข) ส่งลูกกินเปล่า เมื่อผู้เล่นในสนามของฝ่ายป้องกันเข้ามาในเขตประตูและได้เปรียบแต่ไม่ได้ทำให้ฝ่ายรุกสูญเสียโอกาสการได้ประตูโดยตรงแต่ถูกทำลายโดยปราศจากการได้คะแนน(13:1ข)
ค) ยิงลูกโทษ 7 เมตร เมื่อผู้เล่นในสนามของฝ่ายป้องกันเข้าไปในเขตประตูและทำให้เกิดการได้เปรียบในการเล่นมากกว่าฝ่ายตรงข้ามที่ครอบครองลูกบอล (14.1ก)
ก) ผู้รักษาประตูได้ส่งลูก เมื่อผู้เล่นในสนามที่ครอบครองลูกบอลเข้าไปในเขตประตูหรือได้เปรียบจาการเล่นนั้นเข้าไปในเขตประตู
ข) ส่งลูกกินเปล่า เมื่อผู้เล่นในสนามของฝ่ายป้องกันเข้ามาในเขตประตูและได้เปรียบแต่ไม่ได้ทำให้ฝ่ายรุกสูญเสียโอกาสการได้ประตูโดยตรงแต่ถูกทำลายโดยปราศจากการได้คะแนน(13:1ข)
ค) ยิงลูกโทษ 7 เมตร เมื่อผู้เล่นในสนามของฝ่ายป้องกันเข้าไปในเขตประตูและทำให้เกิดการได้เปรียบในการเล่นมากกว่าฝ่ายตรงข้ามที่ครอบครองลูกบอล (14.1ก)
6.3 การที่ผู้เล่นเข้าไปในเขตประตูจะยังไม่ถูกลงโทษ เมื่อ
ก) ผู้เล่นเข้าไปในเขตประตูภายหลังจากการเล่นลูกบอล และไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบแก่ฝ่ายตรงข้าม
ข) ผู้เล่นเข้าไปในเขตประตูโดยที่ไม่มีลูกบอล และไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบจากการเล่นนั้น
ก) ผู้เล่นเข้าไปในเขตประตูภายหลังจากการเล่นลูกบอล และไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบแก่ฝ่ายตรงข้าม
ข) ผู้เล่นเข้าไปในเขตประตูโดยที่ไม่มีลูกบอล และไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบจากการเล่นนั้น
6.4 ลูกบอลถูกพิจารณาให้เข้าสู่การเล่นเมื่อผู้รักษาประตูครอบครองลูกบอลไว้ในมือ(12.1) และจะต้องส่งกลับสู่การเล่นโดยผู้รักษาประตู (12.2)
6.5 ขณะที่ลูกบอลหยุดนิ่งหรือกลิ้งอยู่ในเขตประตู ถูกพิจารณาให้อยู่ในการครอบครองของผู้รักษาประตู ผู้รักษาประตูดำเนินการส่งลูกได้ตามกติกา ข้อ6.4 และ12.1 ก่อนที่ลูกบอลกลับเข้าสู่การเล่น (แต่ต้องไม่สัมผัสผู้เล่นในทีม) การฝ่าฝืนของทีมตนเองโดยผู้รักษาประตูทำให้เกิดการส่งลูกกินเปล่าจากฝ่ายตรงข้าม (13.1ก) การฝ่าฝืนของฝ่ายตรงข้ามทำให้เกิดการส่งลูกจากผู้รักษาประตู (12.1) อนุญาตให้เล่นลูกบอลในขณะที่ลอยอยู่ในอากาศเหนือเขตประตูได้
6.6 การเล่นจะดำเนินต่อไป (เมื่อผู้รักษาประตูส่งลูกกลับเข้าสู่การเล่น 6.4-5) ถ้าผู้เล่นฝ่ายป้องกันสัมผัสลูกบอลในลักษณะการป้องกันและผู้รักษาประตูรับลูกบอลนั้นได้หรือลูกบอลหยุดอยู่ในเขตประตู
6.7 ถ้าผู้เล่นเจตนาส่งบอลกลับเข้าไปในเขตประตูของตนเองจะตัดสินดังนี้
ก) ได้ประตูถ้าลูกบอลเข้าประตู
ข) ส่งลูกกินเปล่า ถ้าลูกบอลไปหยุดนิ่งในเขตประตูหรือผู้รักษาประตูสัมผัสลูกบอลและลูกบอลไม่เข้าประตู (13.1ก-ข)
ค) ส่งลูกบอลออกนอกเส้นประตู (11.1)
ง) การเล่นดำเนินต่อไปถ้าลูกบอลย้อนกลับออกจากเขตประตู โดยที่ลูกบอลไม่ได้สัมผัสกับผู้รักษาประตู
ก) ได้ประตูถ้าลูกบอลเข้าประตู
ข) ส่งลูกกินเปล่า ถ้าลูกบอลไปหยุดนิ่งในเขตประตูหรือผู้รักษาประตูสัมผัสลูกบอลและลูกบอลไม่เข้าประตู (13.1ก-ข)
ค) ส่งลูกบอลออกนอกเส้นประตู (11.1)
ง) การเล่นดำเนินต่อไปถ้าลูกบอลย้อนกลับออกจากเขตประตู โดยที่ลูกบอลไม่ได้สัมผัสกับผู้รักษาประตู
6.8 ลูกบอลย้อนกลับจากเขตประตูออกมาในสนามเข้าสู่การเล่น
กติกาข้อที่ 7 การเล่นลูกบอล (Playing the Ball)
อนุญาตให้
7.1 ขว้าง จับ หยุด ผลัก หรือตีลูกบอลโดยการใช้มือ (แบมือหรือกำมือ) แขน ศีรษะ ลำตัว ต้นขา และเข่า
7.2 ถือลูกบอลไว้ได้ไม่เกิน 3 วินาที แม้ในขณะที่ลูกบอลวางอยู่บนพื้น(13.1ก)
7.3 ก้าวเท้าพร้อมลูกบอลได้ไม่เกิน 3 ก้าว หนึ่งก้าวให้พิจารณาการกระทำดังนี้
ก) ผู้เล่นยืนด้วยเท้าทั้งสองบนพื้น ยกเท้าหนึ่งและวางลงอีกครั้ง หรือ เคลื่อนเท้าข้างหนึ่งจากที่หนึ่งไปยังที่อื่น ๆ
ข) ผู้เล่นสัมผัสพื้นด้วยเท้าเพียงเท้าเดียว รับลูกบอลและจากนั้นใช้เท้าอีกข้างสัมผัสพื้น
ค) หลังจากกระโดด ผู้เล่นสัมผัสพื้นด้วยเท้าเพียงข้างเดียว และจากนั้นกระโจนด้วยเท้าเดิมหรือสัมผัสพื้นด้วยเท้าอีกข้าง
ง) หลังจากกระโดด ผู้เล่นสัมผัสพื้นด้วยเท้าทั้งสองพร้อมกัน และจากนั้นยกเท้าข้างหนึ่งขึ้นและวางเท้านั้นลงอีกครั้ง หรือเคลื่อนเท้าข้างหนึ่งไปยังที่อื่น ๆ
ก) ผู้เล่นยืนด้วยเท้าทั้งสองบนพื้น ยกเท้าหนึ่งและวางลงอีกครั้ง หรือ เคลื่อนเท้าข้างหนึ่งจากที่หนึ่งไปยังที่อื่น ๆ
ข) ผู้เล่นสัมผัสพื้นด้วยเท้าเพียงเท้าเดียว รับลูกบอลและจากนั้นใช้เท้าอีกข้างสัมผัสพื้น
ค) หลังจากกระโดด ผู้เล่นสัมผัสพื้นด้วยเท้าเพียงข้างเดียว และจากนั้นกระโจนด้วยเท้าเดิมหรือสัมผัสพื้นด้วยเท้าอีกข้าง
ง) หลังจากกระโดด ผู้เล่นสัมผัสพื้นด้วยเท้าทั้งสองพร้อมกัน และจากนั้นยกเท้าข้างหนึ่งขึ้นและวางเท้านั้นลงอีกครั้ง หรือเคลื่อนเท้าข้างหนึ่งไปยังที่อื่น ๆ
หมายเหตุ ถ้าเท้าข้างหนึ่งได้ลากจากที่หนึ่งไปยังที่อื่น ๆ อนุญาตให้เคลื่อนเท้าอีกข้างหนึ่งไปใกล้เท้าแรกได้
7.4 ขณะยืนหรือวิ่ง
ก) กระดอนลูกบอลครั้งหนึ่งแล้วจับด้วยมือเดียวหรือสองมือ
ข) กระดอนลูกบอลซ้ำด้วยมือเดียว (การเลี้ยงลูกบอล) และจับลูกขึ้นมาอีกครั้งด้วยมือเดียวหรือสองมือ
ค) กลิ้งลูกบอลไปบนพื้นสนามซ้ำ ๆ ด้วยมือเดียวและจับลูกขึ้นมาอีกครั้งด้วยมือเดียวหรือสองมือและหลังจากนั้นจับลูกบอลหรือหยิบลูกบอลขึ้นมาอีกด้วยมือเดียวหรือสองมือ ในขณะที่จับลูกบอลด้วยมือเดียวหรือสองมือนั้น จะทำได้ภายในเวลา 3 วินาที หรือหลังจากก้าวเท้าไม่เกิน 3 ก้าว (13.1ก)
การกระดอนลูกบอลหรือเลี้ยงลูกบอลนั้น ให้พิจารณาการเล่นเมื่อผู้เล่นใช้ส่วนหนึ่งส่วนใดสัมผัสลูกบอลในทิศทางลงสู่พื้น
หลังจากลูกบอลได้สัมผัสผู้เล่นคนอื่นหรือประตู อนุญาตให้ผู้เล่นเลี้ยงลูกบอลหรือกระดอนลูกบอลและจับไว้อีกครั้งหนึ่ง(ดู 14.6)
ก) กระดอนลูกบอลครั้งหนึ่งแล้วจับด้วยมือเดียวหรือสองมือ
ข) กระดอนลูกบอลซ้ำด้วยมือเดียว (การเลี้ยงลูกบอล) และจับลูกขึ้นมาอีกครั้งด้วยมือเดียวหรือสองมือ
ค) กลิ้งลูกบอลไปบนพื้นสนามซ้ำ ๆ ด้วยมือเดียวและจับลูกขึ้นมาอีกครั้งด้วยมือเดียวหรือสองมือและหลังจากนั้นจับลูกบอลหรือหยิบลูกบอลขึ้นมาอีกด้วยมือเดียวหรือสองมือ ในขณะที่จับลูกบอลด้วยมือเดียวหรือสองมือนั้น จะทำได้ภายในเวลา 3 วินาที หรือหลังจากก้าวเท้าไม่เกิน 3 ก้าว (13.1ก)
การกระดอนลูกบอลหรือเลี้ยงลูกบอลนั้น ให้พิจารณาการเล่นเมื่อผู้เล่นใช้ส่วนหนึ่งส่วนใดสัมผัสลูกบอลในทิศทางลงสู่พื้น
หลังจากลูกบอลได้สัมผัสผู้เล่นคนอื่นหรือประตู อนุญาตให้ผู้เล่นเลี้ยงลูกบอลหรือกระดอนลูกบอลและจับไว้อีกครั้งหนึ่ง(ดู 14.6)
7.5 ส่งลูกบอลจากมือหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง
7.6 เล่นลูกบอลในขณะที่กำลังคุกเข่า นั่ง หรือนอนอยู่บนพื้น อนุญาตให้ส่งลูกบอลได้ตามกติกา(สำหรับการส่งลูกกินเปล่า) จากตำแหน่งถ้ามีความจำเป็นตามกติกาข้อ 15.1 การต้องการที่ส่งต้องมีเท้าสัมผัสพื้น
ไม่อนุญาตให้
7.7 หลังจากควบคุมลูกบอลด้วยการสัมผัสลูกบอลมากกว่าหนึ่งครั้งนอกจากในระหว่างนั้นลูกบอลได้ไปสัมผัสพื้น ผู้เล่นคนอื่น หรือประตู (13.1ก) อย่างไรก็ตามการสัมผัสเกินหนึ่งครั้งยังไม่ทำโทษถ้าลูกบอลยังไม่อยู่ในการควบคุม เมื่อพยายามจับหรือหยุด
7.8 สัมผัสลูกบอลด้วยเท้าหรือขาที่อยู่ต่ำกว่าเข่าลงไป ยกเว้นลูกบอลได้ถูกขว้างมาสัมผัสกับผู้เล่นโดยฝ่ายตรงข้าม (13.1ก-ง)
7.9 การเล่นจะต้องดำเนินการต่อไป ถ้าลูกบอลสัมผัสผู้ตัดสินในสนาม
7.10 ผู้เล่นเคลื่อนที่ออกนอกสนามด้วยเท้าเดียวหรือสองเท้า (ลูกบอลยังอยู่ในสนาม) ตัวอย่างเช่นหลีกฝ่ายป้องกันจะทำให้เกิดการส่งลูกกินเปล่าของฝ่ายรุก (13.1ก)
ถ้าผู้เล่นจากทีมครอบครองบอลย้ายตำแหน่งข้างสนามพร้อมลูกบอล ผู้ตัดสินจะให้สัญญาณให้ผู้เล่นกลับมาในสนามถ้าทำผิดซ้ำๆ หรือมีปฏิกิริยา ผู้ตัดสินให้ฝ่ายตรงข้ามได้ส่ง
ลูกกินเปล่า (13.1ก) ยกเว้นมีการเตือนบุคคลอื่นไม่ควรเตือนบุคคลคนเดียวกันเกิน 1 ครั้ง
ลูกกินเปล่า (13.1ก) ยกเว้นมีการเตือนบุคคลอื่นไม่ควรเตือนบุคคลคนเดียวกันเกิน 1 ครั้ง
การถ่วงเวลา (Passive Play)
7.11ไม่อนุญาตให้ครอบครองลูกบอลอยู่ภายในทีม ยกเว้นมีการสร้างสรรค์การรุกหรือการยิงประตู ในทำนองเดียวกันไม่อนุญาตกระทำการแบบซ้ำๆ ในการส่งลูกเข้าเล่น,ส่งลูกกินเปล่า ,ส่งลูกเริ่มเล่น หรือส่งลูกจากผู้รักษาประตูสำหรับเจ้าของทีม (ดูแนวปฏิบัติข้อ4) อย่างนี้ถือว่าเป็นการเล่นที่ถ่วงเวลา ซึ่งการลงโทษให้ฝ่ายตรงข้ามได้ส่งลูกกินเปล่า นอกจากนั้นฝ่ายครอบครองลูกบอลส่งลูกไปเรื่อยๆ โดยไม่มีข้อสิ้นสุด (13.1ก) การส่งลูกกินเปล่าจะต้องส่งตรงจุดที่ลูกบอลได้หยุดลง
7.12 เมื่อมีแนวโน้มว่ามีการถ่วงเวลา จะเตือนโดยให้สัญญาณมือ (สัญญาณมือที่ 18) เป็นการแสดงให้ฝ่ายครอบครองลูกบอลได้มีโอกาสเปลี่ยนแปลงการรุกในเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะต้องสูญเสียไปจากการครอบครองลูกบอล ถ้าฝ่ายรุกไม่เปลี่ยนแปลงหลังจากการให้สัญญาณ หรือไม่ยิงประตู จะให้ฝ่ายตรงข้ามส่งลูกกินเปล่าครอบครองลูกบอล(ดูแนวปฏิบัติ 4)
บางครั้งผู้ตัดสินสามารถให้ฝ่ายตรงข้ามส่งลูกกินเปล่าโดยยกเว้นการเตือนด้วยสัญญาณเมื่อผู้เล่นไม่ตั้งใจพยายามที่จะทำประตูเมื่อมีโอกาส
กติกาข้อที่ 8 การเล่นกับฝ่ายตรงกันข้าม (The Approach to the Opponent)
อนุญาต ให้ผู้เล่นกระทำดังนี้
8.1 ก) ใช้มือหรือแขนสกัดกั้นเพื่อประโยชน์ในการครอบครองลูกบอล
ข) แบมือเล่นลูกบอลจากฝ่ายตรงกันข้ามได้ทุกทิศทาง
ค) ใช้ลำตัวกีดขวางหรือบังฝ่ายตรงข้ามรวมถึงฝ่ายตรงกันข้ามที่ไม่ได้ครอบครอง
8.1 ก) ใช้มือหรือแขนสกัดกั้นเพื่อประโยชน์ในการครอบครองลูกบอล
ข) แบมือเล่นลูกบอลจากฝ่ายตรงกันข้ามได้ทุกทิศทาง
ค) ใช้ลำตัวกีดขวางหรือบังฝ่ายตรงข้ามรวมถึงฝ่ายตรงกันข้ามที่ไม่ได้ครอบครอง
ลูกบอล
ง) ใช้ลำตัว แขน สัมผัสได้อย่างต่อเนื่องเพื่อจะติดตามการป้องกันฝ่ายตรงกันข้าม
ไม่อนุญาต ให้ผู้เล่นกระทำดังนี้
8.2 ก) ดึงหรือตีลูกบอลให้ออกจากมือฝ่ายตรงข้าม
ข) สกัดกั้นหรือบังคับฝ่ายตรงข้ามด้วยมือ แขน หรือขา
ค) เหนี่ยวรั้ง หรือ ดึง (ร่างกายหรือเสื้อผ้า) ผลัก วิ่งหรือกระโดดเข้าใส่ฝ่ายตรงข้าม
ง) เหนี่ยวรั้งฝ่ายตรงกันข้ามในลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตราย (ไม่ว่าฝ่ายตรงกันข้ามนั้น จะครอบครองลูกบอลหรือไม่ได้ครอบครองลูกบอลก็ตาม)
ง) ใช้ลำตัว แขน สัมผัสได้อย่างต่อเนื่องเพื่อจะติดตามการป้องกันฝ่ายตรงกันข้าม
ไม่อนุญาต ให้ผู้เล่นกระทำดังนี้
8.2 ก) ดึงหรือตีลูกบอลให้ออกจากมือฝ่ายตรงข้าม
ข) สกัดกั้นหรือบังคับฝ่ายตรงข้ามด้วยมือ แขน หรือขา
ค) เหนี่ยวรั้ง หรือ ดึง (ร่างกายหรือเสื้อผ้า) ผลัก วิ่งหรือกระโดดเข้าใส่ฝ่ายตรงข้าม
ง) เหนี่ยวรั้งฝ่ายตรงกันข้ามในลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตราย (ไม่ว่าฝ่ายตรงกันข้ามนั้น จะครอบครองลูกบอลหรือไม่ได้ครอบครองลูกบอลก็ตาม)
8.3 การละเมิดกติกาข้อ8.2 อาจเกิดขึ้นการต่อสู้กันขณะมีลูกบอล อย่างไรก็ตาม การละเมิดเมื่อเกิดการกระทำโดยส่วนใหญ่หรือฝ่ายตรงข้ามเพียงคนเดียวโดยไม่มีลูกบอลจะถูกลงโทษตามลำดับโทษ (progressively) ยิ่งไปกว่านั้นอาจถูกลงโทษโดยการส่งลูกกินเปล่า หรือ ลูก 7 เมตร
ในประเด็นนี้ขึ้นอยู่กับการลงโทษของบุคคลโดยเริ่มต้นจากการตักเตือน(16.1ข) ตามด้วยการลงโทษ
ที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ได้แก่ การพัก (16.3ข) และการให้ออก (16.6ฉ)
การไม่มีน้ำใจนักกีฬาเป็นการลงโทษภายใต้ลำดับขั้นของการลงโทษ(16.6ค,16.3ค และ16.6ฉ)
ในประเด็นนี้ขึ้นอยู่กับการลงโทษของบุคคลโดยเริ่มต้นจากการตักเตือน(16.1ข) ตามด้วยการลงโทษ
ที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ได้แก่ การพัก (16.3ข) และการให้ออก (16.6ฉ)
การไม่มีน้ำใจนักกีฬาเป็นการลงโทษภายใต้ลำดับขั้นของการลงโทษ(16.6ค,16.3ค และ16.6ฉ)
ขณะที่ข้อเสนอแนะของกติกาข้อ16.3 แสดงข้อคิดเห็นอย่างไรก็ตามผู้ตัดสินที่จะยุติข้อละเมิดในการกระทำอันใดอันหนึ่งโดยการพัก 2 นาที แม้ว่าผู้เล่นจะไม่เคยถูกตักเตือนมาก่อน
8.4 การแสดงออกทางร่างกายและคำพูด สีหน้า ที่ไม่พอใจซึ่งด้วยน้ำใจในการเป็นนักกีฬาให้ถือว่าเป็นการเล่นโดยไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา (ดูแนวปฏิบัติ 5) นำไปใช้กับผู้เล่นทั้งสองฝ่ายและเจ้าหน้าที่ประจำทีมที่กระทำอยู่หรือผู้เล่นที่กำลังเล่นในสนามลงโทษตามลำดับ ประยุกต์มาใช้กับการไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬาได้(16.1ข,16.3ค-ง,16.6ก )
8.5 ผู้เล่นที่ทำให้เกิดอันตรายต่อฝ่ายตรงข้ามในขณะที่เข้าปะทะ ต้องถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน (16.6ข) ถ้ากระทำดังนี้
ก) จากด้านข้างหรือด้านหลัง เช่น ตี ชน ผลัก กระชาก ฉุดแขนของฝ่ายตรงข้ามในขณะที่ยิงประตูหรือส่งลูกบอล
ข) ทุกๆ การกระทำที่ส่งผลต่อ ศีรษะหรือคอ ของฝ่ายตรงข้าม
ค) ชน กระแทก ร่างกายของฝ่ายตรงข้ามด้วยเข่าหรือเท้าในทุกกรณี
ง) ผลักฝ่ายตรงข้ามขณะวิ่ง กระโดด หรือเข้าปะทะจนส่งผลให้ฝ่ายตรงข้ามสูญเสียการควบคุมตนเอง (ทำให้เสียการทรงตัว)
จ) ขว้างลูกบอลใส่ ศีรษะหรือร่างกายผู้เล่นฝ่ายป้องกันในขณะที่ส่งลูกกินเปล่าในทิศทางที่ยิงประตู โดยที่ผู้เล่นฝ่ายป้องกันไม่ได้เคลื่อนที่หรือในทำนองเดียวกัน ขว้างลูกบอลใส่ศีรษะหรือร่างกายผู้รักษาประตูในการยิงลูก 7 เมตรโดยผู้รักษาประตูไม่ได้เคลื่อนที่
ข้อคิดเห็น ถึงแม้ว่าการกระทำในลักษณะการเล่นที่ส่อเจตนาที่จะกระทำอันตรายต่อฝ่ายตรงข้ามจะสัมผัสถูกฝ่ายตรงข้ามเพียงเล็กน้อยหรือไม่ถูกเลยก็ตาม ก็สามารถที่จะพิจารณาลงโทษด้วยใบแดงได้โดยตรง
ข้อคิดเห็น ถึงแม้ว่าการกระทำในลักษณะการเล่นที่ส่อเจตนาที่จะกระทำอันตรายต่อฝ่ายตรงข้ามจะสัมผัสถูกฝ่ายตรงข้ามเพียงเล็กน้อยหรือไม่ถูกเลยก็ตาม ก็สามารถที่จะพิจารณาลงโทษด้วยใบแดงได้โดยตรง
8.6 การกระทำที่ผิดกติกาอย่างร้ายแรง การกระทำที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา อย่างรุนแรง โดยผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมในหรือนอกสนามผู้เล่นที่กระทำผิดนั้นจะถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน (16.6ค)
8.7 ผู้เล่นในระหว่างการเล่นที่กระทำผิดโดยการทำร้ายร่างกายจะถูกไล่ออกจากการแข่งขัน(16.9-11)นอกเวลาแข่งขัน(ดู16.13)ทำให้เกิดการถูกตัดสิทธ์(16.6ง,16.14ข) เจ้าหน้าที่ประจำทีมทำร้ายร่างกายทำให้เกิดการถูกตัดสิทธ์(16.6จ)
ข้อคิดเห็น วัตถุประสงค์ของกติกาข้อนี้ มีเพื่อป้องกันการทำร้ายร่างกาย ( ผู้เล่น , ผู้ตัดสิน, เจ้าหน้าที่เทคนิค, เจ้าหน้าที่ประจำทีม , ผู้ควบคุมการแข่งขัน, ผู้ชม ) การถ่มน้ำลายโดยเจตนาที่จะดูถูกหรือเหยียดหยามก็ถือเป็นความผิดในข้อนี้ด้วย
8.8 การละเมิดกติกาข้อ 8.2 ทำให้เกิดการยิง 7 เมตร สำหรับฝ่ายตรงข้าม(14.1) ถ้ามีการละเมิดโดยตรงหรือโดยอ้อม เพราะการหยุดจังหวะ ทำให้เกิดการทำลายโอกาสการได้ประตูของฝ่ายตรงข้ามอย่างชัดเจน
การละเมิดอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการได้ส่งลูกกินเปล่า สำหรับฝ่ายตรงข้ามดู13.1ก-ข แต่ดู13.2และ13.3ประกอบด้วย)
การละเมิดอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการได้ส่งลูกกินเปล่า สำหรับฝ่ายตรงข้ามดู13.1ก-ข แต่ดู13.2และ13.3ประกอบด้วย)
กติกาข้อที่ 9 การได้ประตู (Scoring)
9.1 จะนับว่าได้ประตูเมื่อลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านเข้าไปในเส้นประตู (รูปที่ 4) โดยผู้ยิงประตู เพื่อนร่วมทีมหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมไม่ได้ทำผิดกติกาก่อนหรือขณะทำการยิงประตู ผู้ตัดสินที่เส้นประตู (Goal line referee) จะให้สัญญาณนกหวีดสั้นๆ 2 ครั้ง และแสดงสัญญาณมือ หมายเลข 12
จะให้ได้ประตู ถ้าฝ่ายป้องกันทำผิดกติกาในขณะที่ลูกบอลได้เข้าประตู
จะให้ได้ประตู ถ้าฝ่ายป้องกันทำผิดกติกาในขณะที่ลูกบอลได้เข้าประตู
จะไม่ให้ได้ประตู ถ้าผู้ตัดสินหรือผู้จับเวลาได้ให้สัญญาณหมดเวลาก่อนที่ลูกบอลจะข้ามเส้นประตูโดยสมบูรณ์
จะให้ฝ่ายตรงกันข้ามได้ประตู ถ้าผู้เล่นทำลูกบอลเข้าประตูตนเอง นอกเสียจากการส่งลูกโดยผู้รักษาประตู (กติกาข้อ 12:2 )
ข้อสังเกต จะให้ได้ประตูถ้าลูกบอลถูกป้องกันการเข้าประตูโดยบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในสนาม (ผู้ชม ฯลฯ) และผู้ตัดสินพิจารณาแล้วเห็นว่าถ้าไม่มีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้น ลูกบอลจะต้องเข้าประตูอย่างแน่นอน
9.2 เมื่อผู้ตัดสินได้ให้สัญญาณนกหวีดส่งลูกเริ่มเล่น หลังจากตัดสินให้ได้ประตูแล้ว
จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ (กติกาข้อ 12:9 )
จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ (กติกาข้อ 12:9 )
ถ้าสัญญาณหมดเวลาดังขึ้น ผู้ตัดสินได้ให้สัญญาณได้ประตู ผู้ตัดสินจะต้องแสดงให้ชัดเจนว่าได้ให้ประตูโดยไม่ต้องส่งลูกเริ่มเล่น
ข้อสังเกต ประตูจะถูกบันทึกลงในป้ายบอกคะแนนทันที ที่ผู้ตัดสินให้สัญญาณได้ประตู
9.3 ทีมที่ทำประตูได้มากกว่าอีกทีมหนึ่ง จะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน การเล่นยังดำเนินต่อไป
ถ้าทั้งสองทีมมีคะแนนหรือไม่มีคะแนน เท่ากันเมื่อหมดเวลาการแข่งขัน (กติกาข้อ 2:2 )
ถ้าทั้งสองทีมมีคะแนนหรือไม่มีคะแนน เท่ากันเมื่อหมดเวลาการแข่งขัน (กติกาข้อ 2:2 )
รูปที่ 4
กติกาข้อที่ 10 การส่งลูกเริ่มเล่น (The Throw-Off)
10.1 การส่งลูกเริ่มเล่น จะทำโดยทีมที่ชนะการเสี่ยง เลือกเริ่มเล่นด้วยการครอบครองลูกบอล
ฝ่ายตรงกันข้ามจะเป็นฝ่ายเลือกแดนในทางตรงกันข้ามถ้าทีมที่ชนะการเสี่ยงเลือกแดนทีมฝ่ายตรงข้ามก็จะเป็นฝ่ายส่งลูกเริ่มเล่น
ฝ่ายตรงกันข้ามจะเป็นฝ่ายเลือกแดนในทางตรงกันข้ามถ้าทีมที่ชนะการเสี่ยงเลือกแดนทีมฝ่ายตรงข้ามก็จะเป็นฝ่ายส่งลูกเริ่มเล่น
การส่งลูกเริ่มเล่นในครึ่งเวลาหลัง ทำโดยทีมที่ไม่ได้เป็นฝ่ายส่งลูกเริ่มเล่นในครึ่งเวลาแรกเมื่อมีการเพิ่มเวลาพิเศษให้ทำการเสี่ยงใหม่
10.2 หลังจากมีการได้ประตู การเล่นจะเริ่มขึ้นใหม่โดยการส่งลูกเริ่มเล่นจากทีมที่เสียประตู (กติกาข้อ 9:2 )
10.3 การส่งลูกเริ่มเล่น จะทำที่กึ่งกลางของสนามในทิศทางใด ๆ ก็ได้ (ประมาณ 1.5 เมตร
บนเส้นกลางสนาม) หลังจากที่ผู้ตัดสินให้สัญญาณนกหวีด และต้องทำภายในเวลา 3 วินาที (กติกาข้อ 13 : 1ก, 15 : 7)
บนเส้นกลางสนาม) หลังจากที่ผู้ตัดสินให้สัญญาณนกหวีด และต้องทำภายในเวลา 3 วินาที (กติกาข้อ 13 : 1ก, 15 : 7)
ผู้ส่งจะต้องมีเท้าอย่างน้อยหนึ่งข้างอยู่บนเส้นกลางสนามและเท้าอีกข้างอยู่หลังเส้น(กติกาข้อ 15:6) จนกว่าลูกบอลได้หลุดออกจากมือไปแล้ว (กติกาข้อ 13:1ก , 15:7 )
ผู้เล่นฝ่ายส่งลูกเริ่มเล่น จะไม่ข้ามเส้นกลางสนามก่อนที่ผู้ตัดสินให้สัญญาณนกหวีด (กติกาข้อ 15:6)
10.4 การส่งลูกเริ่มเล่น ช่วงเริ่มการแข่งขันผู้เล่นทุกคนต้องอยู่ในแดนครึ่งสนามของตนเอง สำหรับการส่งลูกเริ่มเล่นภายหลังจากได้ประตู ฝ่ายตรงข้ามจะอยู่ในแดนใดก็ได้ แต่จะต้องอยู่ห่างจากผู้ส่งลูกอย่างน้อย 3 เมตร (กติกาข้อ 15:4, 15:9)
กติกาข้อที่ 11 การส่งลูกเข้าเล่น (The Throw-In)
11.1จะตัดสินให้ส่งลูกเข้าเล่นถ้าลูกบอลออกเส้นข้างโดยสมบูรณ์ หรือลูกบอลได้สัมผัสผู้เล่นในสนามของทีมที่กำลังป้องกันเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่ลูกบอลจะออกเส้นประตู รวมทั้งลูกบอลสัมผัสเพดานหรืออุปกรณ์ที่อยู่เหนือสนาม
11.2 การส่งลูกเข้าเล่น จะส่งโดยผู้เล่นฝ่ายที่มิได้ถูกลูกบอลเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่ลูกบอลจะข้ามเส้น สัมผัสเพดาน หรืออุปกรณ์ที่อยู่เหนือสนาม
11.3 การส่งลูกเข้าเล่น ให้ส่งตรงบริเวณที่ลูกบอลได้ข้ามเส้นข้าง หรือที่บริเวณปลายเส้นข้าง ทางด้านที่ลูกบอลได้ออกนอกประตู สำหรับลูกที่สัมผัสเพดานหรืออุปกรณ์ที่อยู่เหนือสนาม
จะส่งลูกเข้าเล่นจะทำที่บริเวณเส้นข้างที่อยู่ใกล้กับจุดสัมผัส
จะส่งลูกเข้าเล่นจะทำที่บริเวณเส้นข้างที่อยู่ใกล้กับจุดสัมผัส
11.4 ผู้ส่งจะต้องมีเท้าหนึ่งอยู่บนเส้นข้าง (กติกาข้อ 15:6) จนกว่าลูกบอลได้หลุด
ออกจากมือไปแล้ว (กติกาข้อ 13:1ก , 15:7)
11.5 ในขณะที่มีการส่งลูกเข้าเล่น ผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้ามจะต้องยืนห่างจากผู้ส่งอย่างน้อย 3 เมตร
กติกาข้อที่ 12 การส่งลูกจากผู้รักษาประตู (The Goalkeeper Throw)
12.1 จะให้ส่งลูกจากผู้รักษาประตูเมื่อ
(1) ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเข้าไปในเขตประตู อาจก่อให้เกิดอันตราย ตามกติกาข้อ 6:2ก
(2) ผู้รักษาประตูครอบครองลูกบอล หรือลูกบอลหยุดอยู่บนพื้นในเขตประตู (กติกาข้อ 6:4-5)
(3) ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามสัมผัสลูกบอลในเขตประตูขณะที่ลูกบอลกำลังกลิ้งหรือหยุดอยู่บนพื้นในเขตประตู
(4) ลูกบอลสัมผัสผู้รักษาประตู หรือผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม เป็นครั้งสุดท้ายก่อนออกเส้นประตู
(1) ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเข้าไปในเขตประตู อาจก่อให้เกิดอันตราย ตามกติกาข้อ 6:2ก
(2) ผู้รักษาประตูครอบครองลูกบอล หรือลูกบอลหยุดอยู่บนพื้นในเขตประตู (กติกาข้อ 6:4-5)
(3) ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามสัมผัสลูกบอลในเขตประตูขณะที่ลูกบอลกำลังกลิ้งหรือหยุดอยู่บนพื้นในเขตประตู
(4) ลูกบอลสัมผัสผู้รักษาประตู หรือผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม เป็นครั้งสุดท้ายก่อนออกเส้นประตู
ในสถานการณ์เหล่านี้จะพิจารณาว่าลูกบอลไม่อยู่ในการเล่น จะเริ่มเล่นโดยการส่งจากผู้รักษาประตู (กติกาข้อ 13:3) ถึงแม้ว่า มีการทำผิดกติกาภายหลังจากให้ส่งลูกจากผู้รักษาประตูหรือในขณะส่ง
12.2 การส่งลูกจากผู้รักษาประตู จะส่งจากเขตประตูให้ข้ามเส้นเขตประตู โดยไม่ต้องมีสัญญาณนกหวีดจากผู้ตัดสิน (กติกาข้อ 15:5ข)
จะพิจารณาว่าเป็นการส่งลูกจากผู้รักษาประตู เมื่อลูกบอลได้ถูกส่งโดยผู้รักษาประตูแล้วข้ามเส้นเขตประตู
ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องอยู่ด้านนอกของเส้นเขตประตู และไม่สัมผัสลูกบอลจนกว่าลูกบอลจะข้ามเส้นโดยสมบูรณ์ (กติกาข้อ 15:4, 15:9)
กติกาข้อที่ 13 การส่งลูกกินเปล่า (The Free-Throw)
การพิจารณาการส่งลูกกินเปล่า
13.1 ผู้ตัดสินจะหยุดการเล่นและเริ่มเล่นโดยการส่งลูกกินเปล่าจากฝ่ายตรงข้าม เมื่อ
(ก) ทีมครอบครองกระทำผิดกติกา จะถูกนำไปสู่การเสียการครอบครอง (กติกาข้อ 4:2-3, 4:5-6, 5:6-10, 6:5, 6:7ข, 7:2-4, 7:7-8, 7:10, 7:11, 8:8, 10:3, 11:4, 13:7, 14:4-7, 15:7, และ15:8)
(ข) ฝ่ายตรงข้ามกระทำผิดกติกาต่อทีมครอบครองจนทำให้เสียการครอบครอง (กติกาข้อ 4:2-3, 4:5-6, 5:5, 6:2ข, 6:7ข 7:8, 8:8)
(ก) ทีมครอบครองกระทำผิดกติกา จะถูกนำไปสู่การเสียการครอบครอง (กติกาข้อ 4:2-3, 4:5-6, 5:6-10, 6:5, 6:7ข, 7:2-4, 7:7-8, 7:10, 7:11, 8:8, 10:3, 11:4, 13:7, 14:4-7, 15:7, และ15:8)
(ข) ฝ่ายตรงข้ามกระทำผิดกติกาต่อทีมครอบครองจนทำให้เสียการครอบครอง (กติกาข้อ 4:2-3, 4:5-6, 5:5, 6:2ข, 6:7ข 7:8, 8:8)
13.2 ผู้ตัดสินจะให้เล่นต่อไปไม่หยุดการเล่น เมื่อฝ่ายป้องกันได้ครอบครองลูกบอลโดยทันที ภายหลังจากการทำผิดกติกาของฝ่ายรุก
ผู้ตัดสินจะหยุดการเล่นและลงโทษผู้เล่น เมื่อฝ่ายรุกเสียการครอบครองอย่างชัดเจนหรือไม่สามารถรุกต่อไปได้ อย่างไรก็ดีการลงโทษควรจะเลื่อนออกไปจนกว่าสถานการณ์นั้นจะจบลง
กติกาข้อ 13.2 จะใช่ไม่ได้ในกรณีที่ขัดแย้งกับกติกาข้อ 4:2-3 และ 4:5-6 จะทำให้การเล่นหยุดลงซึ่งปกติมักจะเกิดขึ้นจากผู้จับเวลา
ผู้ตัดสินหรือผู้ควบคุมการแข่งขัน (จาก IHF / ระดับทวีป / สมาคม) หยุดเกมการแข่งขัน
เพราะผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ทีม มีการทำผิดกติกา ด้วยการเตือนหรือลงโทษ การเล่นจะเริ่มใหม่โดยการส่งของทีมครอบครองตรงจุดที่การเล่นได้หยุดลง
เพราะผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ทีม มีการทำผิดกติกา ด้วยการเตือนหรือลงโทษ การเล่นจะเริ่มใหม่โดยการส่งของทีมครอบครองตรงจุดที่การเล่นได้หยุดลง
ผู้จับเวลาหยุดการเล่น เพราะมีการทำผิดกติกาข้อ 4:2-3 และ 4:5-6
ผู้เล่นถ่วงเวลาการเล่น และมีการทำผิดกติกาข้อ 7:11
ตามปกติการส่งลูกกินเปล่าจะไม่ให้ส่งในเขตประตูของตนเองหรือในเขตส่งลูกกินเปล่าของฝ่ายตรงข้าม ถ้ามีการทำผิดกติกาในพื้นที่ดังกล่าวจะต้องส่งจากจุดที่อยู่ด้านนอกใกล้กับจุดที่ทำผิดกติกา
ข้อสังเกต ถ้าตำแหน่งส่งลูกกินเปล่าอยู่บนเส้นส่งลูกกินเปล่าของทีมป้องกัน จุดส่งจะเลื่อนออกไปจากเส้นส่งลูกกินเปล่าของทีมป้องกันได้ไม่เกิน 3 เมตร
13.3 การทำผิดกติกาที่ทำให้เกิดการส่งลูกกินเปล่า ตามปกติจะอยู่ภายใต้กติกาข้อ 13.1ก-ข เกิดขึ้นเมื่อลูกบอลไม่ได้อยู่ในการเล่นการเล่นจะเริ่มใหม่โดยการส่งตามสาเหตุที่ทำให้การเล่นหยุดลง
13.4 นอกจากสถานการณ์ที่กำหนดในกติกาข้อ 13.1ก-ข การส่งลูกกินเปล่าจะใช้เมื่อการเล่นหยุดลง (ขณะที่บอลอยู่ในการเล่น) ถึงแม้ว่าการทำผิดกติกายังไม่เกิดขึ้นก็ตาม
(ก) ทีมที่ครอบครองจะได้ครอบครองบอลต่อ
(ข) ไม่มีทีมที่ครอบครอง ทีมสุดท้ายที่ครอบครองลูกบอล จะได้ครอบครองลูกบอล
ข้อที่ทำให้ได้เปรียบในกติกาข้อ 13:2 จะไม่นำไปใช้ในกติกาข้อ 13:4
(ก) ทีมที่ครอบครองจะได้ครอบครองบอลต่อ
(ข) ไม่มีทีมที่ครอบครอง ทีมสุดท้ายที่ครอบครองลูกบอล จะได้ครอบครองลูกบอล
ข้อที่ทำให้ได้เปรียบในกติกาข้อ 13:2 จะไม่นำไปใช้ในกติกาข้อ 13:4
13.5 ในขณะที่มีการตัดสินว่ามีการส่งลูกกินเปล่าต่อทีมครอบครอง เมื่อผู้ตัดสินเป่านกหวีด
ผู้เล่นที่มีบอลต้องวางลูกลงบนพื้นที่ตรงจุดที่เขาอยู่
ผู้เล่นที่มีบอลต้องวางลูกลงบนพื้นที่ตรงจุดที่เขาอยู่
13.6 การส่งลูกกินเปล่าจะส่งตรงจุดที่ผิดกติกาโดยไม่ต้องมีสัญญาณนกหวีดนกหวีดจาก
ผู้ตัดสิน (กติกาข้อ 15.5ข) ในสถานการณ์ภายใต้กติกาข้อ 13:4ก-ข การส่งลูกกินเปล่าจะส่งหลังจาก
ผู้ตัดสินได้ให้สัญญาณนกหวีดจากจุดที่ลูกบอลถูกขัดจังหวะ
ผู้ตัดสิน (กติกาข้อ 15.5ข) ในสถานการณ์ภายใต้กติกาข้อ 13:4ก-ข การส่งลูกกินเปล่าจะส่งหลังจาก
ผู้ตัดสินได้ให้สัญญาณนกหวีดจากจุดที่ลูกบอลถูกขัดจังหวะ
13.7 ผู้เล่นของทีมส่งจะต้องไม่สัมผัสหรือข้ามเส้นส่งกินเปล่าของฝ่ายตรงข้ามก่อนส่ง (กติกาข้อ 2:5)
ผู้ตัดสินต้องจัดตำแหน่งของผู้เล่นฝ่ายรุกที่เข้าไปอยู่ในเขตเส้นส่งกินเปล่าและเส้นเขตประตูให้ถูกต้อง (กติกา 15:3 และ 15:6) จากนั้นผู้ตัดสินให้สัญญาณนกหวีดส่งลูกกินเปล่าในวิธีการเดียวกันเอามาใช้ได้ (กติกาข้อ 15.7) ถ้าผู้เล่นของฝ่ายส่งสัมผัสหรือเข้าไปในเขตส่งกินเปล่าของฝ่ายป้องกัน ระหว่างการทำการส่งลูกกินเปล่า (ก่อนที่ลูกบอลจะหลุดออกจากมือผู้ส่ง) ถ้าการดำเนินการส่งไม่สอดคล้องกับสัญญาณนกหวีด จะให้เปลี่ยนข้างส่งลูกกินเปล่า
13.8 เมื่อการให้ส่งลูกกินเปล่า ฝ่ายตรงข้ามจะต้องอยู่ห่างจากผู้ส่งอย่างน้อย 3 เมตร อย่างไรก็ตามถ้าการส่งลูกกินเปล่าอยู่ที่เส้นส่งกินเปล่าฝ่ายตรงข้ามจะต้องอยู่ห่างจากผู้ส่งอย่างน้อย 3 เมตร คนที่ไปขัดขวางการทุ่มจะถูกทำโทษตามกติกาข้อ 15.9
กติกาข้อที่ 14 การยิงลูก 7 เมตร (The 7 – Meter Throw)
14.1 การยิงลูก 7 เมตร กระทำเมื่อ
ก. มีการทำให้เสียโอกาสอย่างชัดเจนในการได้ประตูในทุกๆ ส่วนของสนามโดยผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมของฝ่ายตรงข้าม
ข. มีสัญญาณนกหวีดที่ไม่ได้รับอนุญาตในขณะที่มีโอกาสได้ประตูอย่างชัดเจน
ค. มีบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในเกมเข้าไปในสนามทำให้เสียโอกาสในการได้ประตูอย่างชัดเจน
ยกตัวอย่างเช่น ผู้ชมเข้าไปในสนามหรือการหยุดผู้เล่นด้วยสัญญาณนกหวีด
ในทำนองเดียวกันกติกานี้ยังสามารถใช้ได้ในกรณีที่ไฟฟ้าดับที่ทำให้เกมหยุดลงในขณะที่มีโอกาสได้ประตูอย่างชัดเจน
14.2 ถ้าผู้เล่นฝ่ายรุกสามารถควบคุมบอลและร่างกายได้อย่างสมบูรณ์หลังจากถูกกระทำผิดกติกา
โดยผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม (ในขณะที่มีโอกาสจะได้ประตู) จะต้องไม่ให้เป็นลูก 7 เมตร ยกเว้นผู้เล่นฝ่ายรุกล้มหรือสูญเสียโอกาสที่จะได้ประตู จะต้องตัดสินให้เป็นลูก 7 เมตร (ลูกโทษ)
โดยผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม (ในขณะที่มีโอกาสจะได้ประตู) จะต้องไม่ให้เป็นลูก 7 เมตร ยกเว้นผู้เล่นฝ่ายรุกล้มหรือสูญเสียโอกาสที่จะได้ประตู จะต้องตัดสินให้เป็นลูก 7 เมตร (ลูกโทษ)
14.3 ผู้ตัดสินเป่าให้เป็นลูก 7 เมตร ผู้ตัดสินอาจต้องเป่าหยุดเวลาในขณะที่มีการเปลี่ยนตัวของผู้ยิงลูก 7 เมตร หรือผู้รักษาประตู
14.4 การยิงลูก 7 เมตร จะกระทำโดยการยิงไปที่ประตูภายใน 3 วินาที หลังจากสัญญาณนกหวีดของผู้ตัดสิน
14.5 ผู้ยิงลูก 7 เมตร ไม่สามารถสัมผัสหรือข้ามเส้น 7 เมตร ก่อนที่ลูกบอลจะหลุดจากมือ
14.6 ผู้ที่ยิงลูก 7 เมตร และผู้เล่นคนอื่นของฝ่ายผู้ยิง 7 เมตร ไม่สามารถเล่นบอลได้ จนกว่าลูกบอลจะสัมผัสกับฝ่ายตรงข้ามหรือประตู
14.7 ในขณะที่ทำการยิงลูก 7 เมตร ผู้เล่นคนอื่นของฝ่ายผู้ยิง 7 เมตร ต้องอยู่นอกเขตส่งกินเปล่า (เส้น 9 เมตร) จนกว่าลูกบอลจะหลุดจากมือของผู้ยิงประตูไปแล้ว ถ้ามีการทำผิดกติกาให้เปลี่ยนเป็นลูกส่งกินเปล่าแก่ฝ่ายตรงข้าม
14.8 ในขณะที่ทำการยิงลูก 7 เมตร ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่นอกเขตส่งกินเปล่า (เส้น 9 เมตร) และห่างจากผู้ยิงลูก 7 เมตร ออกไป 3 เมตร ถ้ามีการทำผิดกติกาให้ยิงลูก 7 เมตร อีกครั้งถ้าลูกนั้นไม่เข้าประตู
14.9 ให้มีการยิงลูก 7 เมตร ใหม่อีกครั้งถ้าลูกไม่เข้าประตู เนื่องจากผู้รักษาข้ามเส้น 4 เมตร ก่อนที่บอลจะหลุดจากมือของผู้ยิงลูก 7 เมตร
14.10 ไม่อนุญาตให้มีการใช้เวลานาน (ถ่วงเวลา) ในการเปลี่ยนตัวผู้รักษาประตูในขณะที่ผู้ทำการยิงลูก 7 เมตร พร้อมที่จะทำการยิง ถ้าเกิดการทำผิดในกรณีนี้ให้ลงโทษโดยใช้ข้อไม่มีน้ำใจนักกีฬา
กติกาข้อที่ 15 การปฏิบัติในการส่ง (ลูกเริ่มเล่น, ลูกเข้าเล่น, ส่งจากผู้รักษาประตู ลูกกินเปล่า และลูก 7 เมตร)
15.1 ลูกบอลจะต้องอยู่ในมือผู้ส่งก่อนที่จะทำการส่งผู้เล่นทุกคนต้องอยู่ในตำแหน่งตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการส่ง และผู้เล่นต้องอยู่ในตำแหน่งนั้นจนกว่าบอลจะหลุดออกจากมือของผู้ส่ง ยกเว้นการส่งจากผู้รักษาประตู ให้สามารถใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าสัมผัสกับพื้น และเมื่อส่งลูกให้ยกเท้าอื่น และวางลงได้อีกครั้ง
15.2 ผู้ส่งลูกจะต้องไม่ถูกบอลอีกจนกว่าลูกบอลจะได้ถูกผู้เล่นคนอื่นหรือถูกประตูก่อน
ทีมที่ได้ส่งบอล
ทีมที่ได้ส่งบอล
15.3 การส่งจะถือว่าสมบูรณ์เมื่อลูกบอลได้หลุดออกจากมือ จะต้องไม่ใช้วิธีการยื่นลูกบอลหรือแตะโดยเพื่อนร่วมทีม
ผู้เล่นป้องกัน
ผู้เล่นป้องกัน
15.4 ผู้เล่นป้องกันจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องจนกว่าบอลจะออกจากมือของผู้ส่ง
สัญญาณนกหวีด
สัญญาณนกหวีด
15.5 ผู้ตัดสินจะต้องเป่านกหวีดเมื่อเริ่ม
ก. ทุกกรณีของการส่งลูก (10.3) และลูกยิง 7 เมตร
ข. ในกรณีของการส่งลูกเข้าเล่น การส่งลูกของผู้รักษาประตูหรือส่งลูกกินเปล่า
ก. ทุกกรณีของการส่งลูก (10.3) และลูกยิง 7 เมตร
ข. ในกรณีของการส่งลูกเข้าเล่น การส่งลูกของผู้รักษาประตูหรือส่งลูกกินเปล่า
เมื่อเริ่มเล่นหลังจากขอเวลานอก
เมื่อเริ่มส่งลูกกินเปล่า กรณีที่เกิดจากเปลี่ยนตัวผิดกติกา
เมื่อเริ่มเล่นหลังจากลงโทษผู้เล่นโดยการให้บัตรเหลือง สั่งพัก 2 นาที ตัดสิทธิ์
เมื่อหลังจากการแก้ไขตำแหน่งของผู้เล่นให้ถูกต้อง
หลังจากมีการเตือนหรือลงโทษ
หลังจากสัญญาณของผู้ตัดสิน ผู้เล่นจะต้องส่งบอลภายใน 3 วินาที
15.6 การส่งลูกทุกชนิด ถ้าลูกเข้าประตูโดยตรงถือว่าเข้าประตู
15.7 ในขณะที่มีการส่งลูกเข้าเล่นหรือส่งลูกกินเปล่าผู้เล่นฝ่ายรับยืนอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้องและฝ่ายส่งบอลได้ทำการส่งบอลเพื่อเล่นเร็วและกำลังได้เปรียบผู้ตัดสินจะต้องให้การเล่นดำเนินต่อไป แต่ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าฝ่ายรุกไม่ได้เปรียบจึงให้แก้ไขตำแหน่งของฝ่ายรับให้ถูกต้อง
ถ้าผู้ตัดสินให้สัญญาณนกหวีดเพื่อให้เริ่มส่ง แม้ว่าผู้เล่นฝ่ายรับจะมีตำแหน่งไม่ถูกต้องก็ตาม กรณีเช่นนี้ฝ่ายรับมีสิทธิ์เข้าเล่นได้
ผู้เล่นจะถูกเตือน ถ้าทำการถ่วงเวลาหรือกีดขวางการส่งของคู่ต่อสู้โดยการยืนชิดหรือทำผิดอย่างอื่นๆ จะต้องถูกสั่งพัก 2 นาที ถ้าทำซ้ำอีกหลังจากได้ทำการเตือนแล้ว
กติกาข้อที่ 16 การลงโทษ ( The Punishments )
การเตือน ( Warning )
16.1การเตือนสามารถให้ได้เมื่อ
ก) ทำผิดกติกาและละเมิดการเข้าเล่นกับฝ่ายตรงข้าม (ดูกติกาข้อ 5.5 และ 8.2)
ที่ไม่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดในการลงโทษแบบขั้นก้าวหน้า (Progressive Punishment)ตามกติกาข้อ 8.3
การเตือนจะถูกให้เมื่อ
ที่ไม่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดในการลงโทษแบบขั้นก้าวหน้า (Progressive Punishment)ตามกติกาข้อ 8.3
การเตือนจะถูกให้เมื่อ
ข) การกระทำผิดกติกาที่จะต้องถูกลงโทษแบบขั้นก้าวหน้า (ดูกติกาข้อที่ 8.3)
ค) การกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาโดยผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีม (ดูกติกาข้อที่ 8.4 )
ข้อเสนอแนะ ผู้เล่นคนเดียวกันจะถูกให้การเตือน(warning)ไม่เกิน 1ครั้ง และทีมเดียวกันจะถูกให้การเตือนไม่เกิน 3 ครั้ง หลังจากนี้การลงโทษจะเป็นการถูกสั่งพัก 2 นาทีเป็นอย่างน้อย
ผู้เล่นที่ถูกสั่งพัก 2 นาทีมาแล้วจะไม่ถูกให้ได้รับการเตือนอีก
เจ้าหน้าที่ประจำทีมจะได้รับการเตือนรวมกันไม่เกิน 1ครั้ง
16.2 ผู้ตัดสินจะแสดงการเตือนผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ทีมที่กระทำผิดให้กับผู้จับเวลาหรือ
ผู้บันทึกคะแนนด้วยการยกบัตรเหลือง (สัญญาณมือที่ 13 )
ผู้บันทึกคะแนนด้วยการยกบัตรเหลือง (สัญญาณมือที่ 13 )
การสั่งพัก ( Suspension )
16.3 การสั่งพัก ( 2 นาที ) จะถูกให้เมื่อ
ก) การเปลี่ยนตัวที่ผิดกติกา โดยมีผู้เล่นเพิ่มเข้าไปในสนามหรือมีผู้เล่นกระทำผิดกติกาด้วยการรบกวนเกมการแข่งขันจากบริเวณพื้นที่การเปลี่ยนตัวนั้น (ดูกติกาข้อ 4.5-6)
ข) การกระทำผิดซ้ำอีกในความผิดที่จะต้องถูกลงโทษในแบบขั้นก้าวหน้า
(ดูกติกาข้อ 8.3)
(ดูกติกาข้อ 8.3)
ค) กระทำผิดซ้ำในหัวข้อไม่มีน้ำใจนักกีฬาโดยผู้เล่นในสนามหรือนอกสนาม
ง) การกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาโดยคนใดคนหนึ่งของเจ้าหน้าที่ประจำทีม ภายหลังจากที่ได้รับการเตือนตามกติกาข้อ 8.4 และ ข้อ 16.1 ค ดูข้อเสนอแนะในกติกาข้อ 16.1
จ) การกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาในเหตุการณ์ที่ถูกกำหนดไว้ว่าต้องถูกสั่งพัก 2 นาที
(ดูกติกาข้อ 8.4 และ ข้อเสนอแนะในกติกาข้อ 16.3 )
ฉ) เป็นผลที่ตามมาจากการที่ผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมถูกตัดสิทธิ์การแข่งขัน
(ดูกติกาข้อ 16.8 ย่อหน้าที่ 2 และ ข้อ 16.14 ข)
ช) ภายหลังจากที่ผู้เล่นได้รับการถูกสั่งพัก 2 นาทีและก่อนที่เกมการแข่งขันจะเริ่มใหม่ เขาได้กระทำการที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา (ดูกติกา ข้อ 16.12 ก)
(ดูกติกาข้อ 8.4 และ ข้อเสนอแนะในกติกาข้อ 16.3 )
ฉ) เป็นผลที่ตามมาจากการที่ผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมถูกตัดสิทธิ์การแข่งขัน
(ดูกติกาข้อ 16.8 ย่อหน้าที่ 2 และ ข้อ 16.14 ข)
ช) ภายหลังจากที่ผู้เล่นได้รับการถูกสั่งพัก 2 นาทีและก่อนที่เกมการแข่งขันจะเริ่มใหม่ เขาได้กระทำการที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา (ดูกติกา ข้อ 16.12 ก)
ข้อเสนอแนะ ในข้อ ข) , ค) และ ง) เป็นเครื่องชี้ว่าสาเหตุการถูกสั่งพักนั้นมาจากการกระทำผิดหรือการกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาซ้ำอีก อย่างไรก็ตามผู้ตัดสินอาจตัดสินใจโดยตรงว่าการมีส่วนร่วมในการกระทำผิดหรือฝ่าฝืนกติกานั้นอาจถูกสั่งพักในทันทีได้ ถึงแม้ว่าผู้เล่นคนนั้นไม่เคยได้รับการถูกเตือนมาก่อนและทีมก็ยังได้รับการถูกเตือนรวมกันไม่ถึง 3 ครั้งก็ตาม
ในทำนองเดียวกัน เจ้าหน้าที่ประจำทีมอาจถูกสั่งพักได้ถึงแม้เจ้าหน้าที่ประจำทีมนั้นไม่เคยได้รับการถูกเตือนมาก่อน อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้ที่จะให้การถูกสั่งพัก 2 นาทีกับเจ้าหน้าที่ประจำทีมรวมกันแล้วมากกว่า 1 ครั้ง
เมื่อเจ้าหน้าที่ประจำทีมถูกสั่งพัก 2 นาทีตามกติกาข้อ 16.3ง แล้ว เจ้าหน้าที่ประจำทีมคนนั้นก็ยังอยู่ในบริเวณเขตเปลี่ยนตัวและปฏิบัติหน้าที่ของเขาต่อไปได้ตามปกติแต่อย่างไรก็ตามจำนวนผู้เล่นในสนามของทีมที่ถูกลงโทษจะถูกลดลงเป็นเวลา 2 นาที
16.4 ภายหลังจากการเรียกเวลานอก ผู้ตัดสินจะแสดงสัญญาณการสั่งพักอย่างชัดเจนให้กับผู้เล่นที่กระทำผิดและให้ผู้จับเวลาหรือผู้บันทึกคะแนนเห็นเช่นกัน ด้วยสัญญาณมือโดยการยกแขนขึ้นข้างหนึ่งแล้วชู 2 นิ้วแยกออกจากกัน (ดูสัญญาณมือ ที่ 14)
16.5 การถูกสั่งพัก 2 นาทีในช่วงเวลาการเล่นมีอยู่บ่อยๆ ในผู้เล่นคนเดียวกันที่ถูกสั่งพักเป็นครั้งที่ 3 จะนำไปสู่การถูกตัดสิทธิ์การเล่น (ดูกติกา ข้อ 16.6 ฉ)
ผู้เล่นที่ถูกสั่งพักไม่ถูกอนุญาตให้มีส่วนร่วมในเกมการเล่นในระหว่างเวลาที่ถูกสั่งพักนั้น และในทีมก็ไม่ได้รับอนุญาตให้มีใครลงไปเล่นแทนในสนาม ช่วงเวลาการถูกสั่งพักเริ่มนับเมื่อเกมการเล่นในสนามเริ่มขึ้นใหม่ด้วยสัญญาณนกหวีด การถูกสั่งพัก 2 นาทีจะถ่ายโอนไปในครึ่งเวลาหลังของเกมการเล่น ถ้าการถูกสั่งพักนั้นยังไม่จบสมบูรณ์ในครึ่งเวลาแรก ในทำนองเดียวกัน นำมาประยุกต์ใช้จากการเล่นในเวลาปกติไปสู่การเล่นในช่วงต่อเวลาพิเศษ และการเล่นในช่วงต่อเวลาพิเศษจากครึ่งแรกไปสู่ครึ่งหลังด้วย เมื่อสิ้นสุดการเล่นในช่วงต่อเวลาพิเศษเวลาการถูกสั่งพัก 2 นาที ยังไม่หมด หมายความว่า ผู้เล่นคนนั้นจะไม่ถูกส่งรายชื่อเข้าร่วมในการตัดสินเพื่อหาผู้ชนะ(Tie-breaker) ตัวอย่างเช่น การยิงลูก 7 เมตร
ผู้เล่นที่ถูกสั่งพักไม่ถูกอนุญาตให้มีส่วนร่วมในเกมการเล่นในระหว่างเวลาที่ถูกสั่งพักนั้น และในทีมก็ไม่ได้รับอนุญาตให้มีใครลงไปเล่นแทนในสนาม ช่วงเวลาการถูกสั่งพักเริ่มนับเมื่อเกมการเล่นในสนามเริ่มขึ้นใหม่ด้วยสัญญาณนกหวีด การถูกสั่งพัก 2 นาทีจะถ่ายโอนไปในครึ่งเวลาหลังของเกมการเล่น ถ้าการถูกสั่งพักนั้นยังไม่จบสมบูรณ์ในครึ่งเวลาแรก ในทำนองเดียวกัน นำมาประยุกต์ใช้จากการเล่นในเวลาปกติไปสู่การเล่นในช่วงต่อเวลาพิเศษ และการเล่นในช่วงต่อเวลาพิเศษจากครึ่งแรกไปสู่ครึ่งหลังด้วย เมื่อสิ้นสุดการเล่นในช่วงต่อเวลาพิเศษเวลาการถูกสั่งพัก 2 นาที ยังไม่หมด หมายความว่า ผู้เล่นคนนั้นจะไม่ถูกส่งรายชื่อเข้าร่วมในการตัดสินเพื่อหาผู้ชนะ(Tie-breaker) ตัวอย่างเช่น การยิงลูก 7 เมตร
การตัดสิทธิ์การเล่น ( Disqualification )
16.6 การถูกตัดสิทธิ์จะถูกให้เมื่อ
ก) การกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาของเจ้าหน้าที่ประจำทีม ภายหลังจากที่เขาได้รับการถูกเตือนและถูกสั่งพัก 2 นาทีมาก่อนแล้ว ซึ่งเป็นไปตามกติกา ข้อ 8.4 ,16.1ค และ16.3 ง
ข) การกระทำผิดกติกาที่เป็นอันตรายกับร่างกายของฝ่ายตรงข้าม (ดูกติกา ข้อ 8.5)
ค) การกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาอย่างร้ายแรงโดยผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีม ทั้งในสนามและนอกสนาม (ดูกติกา ข้อ 8.6 ) และสำหรับเหตุการณ์ที่สำคัญเฉพาะหรือการกระทำที่ไม่มีนักใจนักกีฬาซ้ำอีกในระหว่างการเล่นเพื่อหาผู้ชนะ (Tie-breaker) เช่นการยิงลูก7 เมตร(ดูข้อเสนอแนะในกติกา ข้อ 2.2 และ ดูกติกา ข้อ 16.13)
ง) การพยายามทำร้ายโดยผู้เล่นก่อนเกมการแข่งขันจะเริ่มหรือระหว่างการเล่นเพื่อหา
ผู้ชนะ (Tie-breaker) (ดูกติกา ข้อ 8.7 และ ข้อ 16.14ข)
ผู้ชนะ (Tie-breaker) (ดูกติกา ข้อ 8.7 และ ข้อ 16.14ข)
จ) การพยายามทำร้ายโดยเจ้าหน้าที่ประจำทีม (ดูกติกา ข้อ 8.7)
ฉ) เพราะผู้เล่นคนเดียวกันถูกสั่งพักเป็นครั้งที่ 3 (ดูกติกา ข้อ 16.5)
16.7 ภายหลังการเรียกเวลานอก ผู้ตัดสินจะแสดงสัญญาณการตัดสิทธิ์อย่างชัดเจนให้กับผู้เล่นที่กระทำผิดหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีม และให้ผู้จับเวลาหรือผู้บันทึกคะแนนเห็นด้วย โดยการยกใบแดงขึ้นเหนือศีรษะ (ดูสัญญาณมือ ที่ 13)
16.8 การตัดสิทธิ์ผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมจะกระทำในช่วงเวลาการเล่นที่เหลืออยู่เสมอ
ผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมต้องออกจากสนามแข่งขันและบริเวณม้านั่งสำรองอย่างทันทีทันใดภายหลังการออกจากสนามแล้วไม่อนุญาตผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมนั้นมีการติดต่อกับทีม การตัดสิทธิ์ผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีม ทั้งขณะอยู่ในสนามหรือนอกสนามในระหว่างเวลาการแข่งขัน จะต้องควบคู่ไปกับการสั่งพัก 2 นาทีให้กับทีมด้วย ซึ่งหมายความว่าจะต้องถูกลดลง 1 คน (ดูกติกา ข้อ 16.3ฉ) แต่อย่างไรก็ตามการลดจำนวนผู้เล่นในสนามอาจจะนานถึง 4 นาทีก็ได้ถ้าผู้เล่นที่ถูกตัดสิทธิ์นั้นมีพฤติกรรมที่ถูกบ่งชี้ในกติกา ข้อ 16.12 ข-ง
ผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมต้องออกจากสนามแข่งขันและบริเวณม้านั่งสำรองอย่างทันทีทันใดภายหลังการออกจากสนามแล้วไม่อนุญาตผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมนั้นมีการติดต่อกับทีม การตัดสิทธิ์ผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีม ทั้งขณะอยู่ในสนามหรือนอกสนามในระหว่างเวลาการแข่งขัน จะต้องควบคู่ไปกับการสั่งพัก 2 นาทีให้กับทีมด้วย ซึ่งหมายความว่าจะต้องถูกลดลง 1 คน (ดูกติกา ข้อ 16.3ฉ) แต่อย่างไรก็ตามการลดจำนวนผู้เล่นในสนามอาจจะนานถึง 4 นาทีก็ได้ถ้าผู้เล่นที่ถูกตัดสิทธิ์นั้นมีพฤติกรรมที่ถูกบ่งชี้ในกติกา ข้อ 16.12 ข-ง
การลดจำนวนผู้เล่นเมื่อมีการตัดสิทธิ์เจ้าหน้าที่ประจำทีมให้ทีมสามารถเลือกผู้เล่นคนหนึ่งในสนามได้(ยกเว้นเหตุการณ์ในกติกา ข้อ 16.14ข) แต่อย่างไรก็ตามทีมจะได้รับอนุญาตให้เพิ่มจำนวนผู้เล่นในสนามได้อีกเมื่อสิ้นสุดเวลาของการถูกสั่งพัก 2 นาที
ในหลักการแล้ว การถูกตัดสิทธิ์นำมาประยุกต์ใช้ในเวลาการแข่งขันที่เหลืออยู่ภายหลังจากที่ถูกตัดสิทธิ์เท่านั้น การตัดสิทธิ์จะถูกพิจารณาและตัดสินใจโดยผู้ตัดสินที่อยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง และการถูกตัดสิทธิ์จะไม่มีผลขยายเพิ่มเติมในการแข่งขันเกมต่อไป ยกเว้นการถูกตัดสิทธิ์ที่มีสาเหตุมาจากการพยายามทำร้าย(ดูกติกา ข้อ 16.6 ข-จ) หรือการกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาอย่างร้ายแรงโดยผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีม(ดูกติกา ข้อ 16.6ค) ภายใต้ข้อ ก),ง) หรือ ช) ตัวอย่างเช่น การถูกตัดสิทธิ์จะต้องถูกอธิบายสาเหตุเอาไว้ในใบรายงานผลการแข่งขัน ( กติกา ข้อ 17.10)
การไล่ออก ( Exclusion )
16.9 การไล่ออกจะถูกให้เมื่อ ผู้เล่นกระทำผิดเกี่ยวกับการพยายามทำร้าย (ดูคำอธิบายภายใต้กติกา ข้อ 8.7) ในระหว่างเวลาการแข่งขัน(ดูกติกา ข้อ 16.13 ย่อหน้าที่ 1 และ กติกาข้อ 2.6)ทั้งภายในสนามหรือภายนอกสนาม
16.10 ภายหลังการเรียกเวลานอก ผู้ตัดสินจะแสดงสัญญาณการไล่ออกที่ชัดเจนให้กับ
ผู้เล่นที่กระทำผิดและให้ผู้จับเวลาหรือผู้บันทึกคะแนนเห็นชัดเจนด้วยการให้สัญญาณมือโดยผู้ตัดสินจะยกแขนทำกากบาทขึ้นเหนือศีรษะ (ดูสัญญาณมือที่ 15)
ผู้เล่นที่กระทำผิดและให้ผู้จับเวลาหรือผู้บันทึกคะแนนเห็นชัดเจนด้วยการให้สัญญาณมือโดยผู้ตัดสินจะยกแขนทำกากบาทขึ้นเหนือศีรษะ (ดูสัญญาณมือที่ 15)
16.11 การไล่ออกจะใช้ในเวลาการแข่งขันที่เหลืออยู่เสมอ และทีมจะต้องเล่นต่อไปด้วยการมีผู้เล่นในสนามน้อยกว่า 1 คนถ้าผู้เล่นที่ถูกไล่ออกได้รับการสั่งพัก 2 นาทีมาแล้ว(หรือเพิ่งจะได้รับก็ตาม) หรือเป็นสาเหตุให้ทีมต้องลดจำนวนผู้เล่นลงให้น้อยกว่าเป็นเวลา 2 นาที
16.12แล้วการถูกสั่งพักหรือการลดจำนวนผู้เล่นจะถูกนำมารวมอยู่ในการถูกไล่ออกด้วยโดยหมายความว่าการลดผู้เล่นให้เหลืออยู่มีสาเหตุมาจากการถูกไล่ออกนั่นเอง
ในสถานการณ์เดียวกันมีการฝ่าฝืนมากกว่า 1 อย่าง (More than one violation in the Same Situation)
16.14 ถ้าผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมกระทำผิดโดยมีการฝ่าฝืนมากกว่า 1อย่าง ในเวลาเดียวกันหรือมีการฝ่าฝืนโดนตรงก่อนที่เกมการแข่งขันจะเริ่มใหม่ และการฝ่าฝืนนั้นต้องมีการลงโทษที่แตกต่างกันไป โดยหลักการแล้ว การลงโทษในความผิดที่หนักที่สุดเท่านั้นที่จะได้รับ สิ่งนี้จะพบได้เสมอว่าเป็นเหตุการณ์หนึ่งเมื่อมีการฝ่าฝืนจะนำไปสู่การพยายามทำร้ายกัน
อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นเฉพาะในเหตุการณ์ต่อไปนี้ ที่ทีมจะต้องเล่นโดยการมีผู้เล่นที่น้อยกว่าในสนามเป็นเวลานาน 4 นาที
ก) ถ้าผู้เล่นที่ถูกสั่งพัก 2 นาที ได้กระทำความผิดในลักษณะไม่มีน้ำใจนักกีฬาเพิ่มอีกอย่างก่อนที่เกมการแข่งขันจะเริ่มใหม่แล้ว ผู้เล่นนั้นจะถูกสั่งพักเพิ่มอีก 2 นาที (ดูกติกา ข้อ 16.3 ช) “ถ้าการถูกสั่งพักเพิ่มอีกนั้นเป็นการถูกสั่งพักครั้งที่ 3 ของเขา ผู้เล่นนั้นจะถูกตัดสิทธิ์ทันที”
ข) ถ้าผู้เล่นที่ได้รับการถูกตัดสิทธ์(โดยตรงหรือเพราะเป็นการถูกสั่งพักครั้งที่ 3)กระทำผิดโดยการไม่มีน้ำใจนักกีฬาก่อนที่เกมการแข่งขันจะเริ่มขึ้นใหม่แล้ว ทีมจะถูกลงโทษเพิ่มมากขึ้นอีกโดยการลดผู้เล่นให้น้อยลงเป็นเวลา 4 นาที (ดูกติกา ข้อ16.8 ย่อหน้าที่ 2)
ค) ถ้าผู้เล่นที่ถูกสั่งพัก 2 นาทีได้กระทำผิดโดยการไม่มีน้ำใจนักกีฬาอย่างร้ายแรงก่อนที่เกมการแข่งขันจะเริ่มใหม่ ผู้เล่นนั้นจะถูกลงโทษเพิ่มเป็นการถูกตัดสิทธิ์แทน(ดูกติกาข้อ 16.6ค) การลงโทษที่ผสมรวมกันนี้จะนำไปสู่การลดผู้เล่นลงเป็นเวลานาน 4 นาที(ดูกติกาข้อ 16.8 ย่อหน้าที่ 2)
ง) ถ้าผู้เล่นที่ถูกตัดสิทธิ์(โดยตรงหรือเพราะเป็นการถูกสั่งพักครั้งที่ 3)ได้กระทำผิดโดยการไม่มีน้ำใจนักกีฬาอย่างร้ายแรงก่อนที่เกมการแข่งขันจะเริ่มใหม่ ทีมจะถูกลงโทษเพิ่มมากขึ้นอีกโดยการลดผู้เล่นให้น้อยลงเป็นเวลา 4 นาที (ดูกติกา ข้อ16.8 ย่อหน้าที่ 2)
16.15การอธิบายสถานการณ์ต่างๆในกติกา ข้อ 16.1,16.3,16.6 และ 16.9 เกี่ยวกับการกระทำผิดโดยทั่วๆ ไปในระหว่างเวลาการแข่งขัน สำหรับวัตถุประสงค์ของกติกาข้อนี้เพื่อใช้ในช่วงเวลาการแข่งขัน , รวมไปถึงการเล่นต่อเวลาพิเศษ , การมีเวลานอก , การพักครึ่งเวลาแรกของ ทั้งหมดและช่วงของเวลาการหยุดการแข่งขันชั่วคราว , ในกรณีตามกติกาข้อ 16.6 , และรวมทั้งในขบวนการเล่นเพื่อหาผู้ชนะ(Tie-breaking) เช่นการยิงลูก 7 เมตร ในระหว่างขบวนการเล่นเพื่อหาผู้ชนะ(Tie-breaking) ผู้ตัดสินอาจจะตัดสินใจว่าเวลาเฉพาะที่ถูกลงโทษนั้นเป็นสิ่งที่มีความหมายน้อย บางกรณีมีความสำคัญหรือกระทำการไม่มีน้ำใจนักกีฬาซ้ำจะถูกนำไปสู่การถูกตัดสิทธิ์การเล่นจากการมีส่วนร่วมในขบวนการนั้น
การฝ่าฝืนกติกานอกเวลาการแข่งขัน (Infractions Outside the Playing Tme)
การฝ่าฝืนกติกานอกเวลาการแข่งขัน (Infractions Outside the Playing Tme)
16.16 การไม่มีน้ำใจนักกีฬา , การไม่มีน้ำใจนักกีฬาอย่างร้ายแรง หรือพยายามทำร้ายผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมโดยมีหลักฐานชัดเจนในบริเวณสถานที่ที่ใช้ในการแข่งขัน แต่อยู่นอกเวลาการแข่งขัน จะถูกลงโทษดังต่อไปนี้
ก่อนเกมการแข่งขัน
ก่อนเกมการแข่งขัน
ก) จะถูกเตือนในกรณีที่เป็นการกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา (ดูกติกา ข้อ 16.1 ค)
ข) จะถูกตัดสิทธิ์ ถ้าผู้เล่นหรือเจ้าหน้าที่ประจำทีมได้กระทำผิดซ้ำในกรณีไม่มีน้ำใจนักกีฬา หรือ การกระทำที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬาอย่างร้ายแรง หรือพยายามทำร้าย แต่ทีมจะได้รับอนุญาตให้เริ่มการแข่งขันได้พร้อมกับการมีผู้เล่น 14 คนและเจ้าหน้าที่ประจำทีม 4 คนในกติกา ข้อ 16.8 ย่อหน้าที่ 2 นำมาประยุกต์ใช้สำหรับการกระทำผิดในระหว่างเวลาการแข่งขัน แต่ตามสถานการณ์ในข้อนี้การตัดสิทธิ์ไม่นำมาใช้ร่วมกับการสั่งพัก 2 นาทีการลงโทษสำหรับการกระทำผิดก่อนเกมการแข่งขันสามารถนำมาดำเนินการต่อได้ในเวลาการแข่งขัน ไม่ว่าเมื่อใดก็ตามที่พบว่าบุคคลที่กระทำผิดเข้ามามีส่วนร่วมในเกมการแข่งขันแต่ในความจริงอาจจะเป็นไปไม่ได้ที่จะกำหนดไว้ก่อนจนกว่าจะถึงเหตุการณ์นั้น
ภายหลังเกมการแข่งขัน
ภายหลังเกมการแข่งขัน
ค) เขียนรายงาน
กติกาข้อที่ 17 ผู้ตัดสิน ( The Referees)
17.1 ผู้ตัดสินที่มีอำนาจเท่าเทียมกัน 2 ท่านเป็นควบคุมในแต่ละการแข่งขัน และผู้ตัดสินจะได้รับความช่วยเหลือจากผู้ควบคุมเวลา(Timekeeper)และผู้บันทึกการแข่งขัน(Scorekeeper)
17.2 ผู้ตัดสินจะต้องควบคุมการผู้เล่นและเจ้าหน้าที่ประจำทีมตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการแข่งขัน
17.3 ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตรวจสอบสนามแข่งขัน ประตู และลูกบอลก่อนการแข่งขันจะเริ่ม
ซึ่งผู้ตัดสินจะเป็นผู้ตัดสินใจที่จะใช้ลูกบอลในการแข่งขัน (ตามที่ระบุในกฎกติกา ข้อ 1 และ 3.1) ผู้ตัดสินต้องตรวจสอบชุดแข่งขันทั้งสองทีมแต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบการแข่งขัน และตรวจสอบรายชื่อผู้เล่นและเจ้าหน้าที่ประจำทีมให้ตรงกับใบบันทึกรวมทั้งอุปกรณ์ ของผู้เข้าแข่งขัน ผู้ตัดสินจะต้องมั่นใจว่าจำนวนของผู้เข้าแข่งขันและเจ้าหน้าที่ประจำทีมในบริเวณนั้นอยู่ในจำนวนที่กำหนดไว้ และจะต้องมีบัตรแสดงตน ( A , B , C , D ) ของเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนรับผิดชอบของแต่ละทีม หากมีข้อแตกต่างอื่นใดจะต้องทำให้ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ (ตามที่ระบุใน กฎกติกาข้อ 4.1-2 และ 4.7-9)
ซึ่งผู้ตัดสินจะเป็นผู้ตัดสินใจที่จะใช้ลูกบอลในการแข่งขัน (ตามที่ระบุในกฎกติกา ข้อ 1 และ 3.1) ผู้ตัดสินต้องตรวจสอบชุดแข่งขันทั้งสองทีมแต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบการแข่งขัน และตรวจสอบรายชื่อผู้เล่นและเจ้าหน้าที่ประจำทีมให้ตรงกับใบบันทึกรวมทั้งอุปกรณ์ ของผู้เข้าแข่งขัน ผู้ตัดสินจะต้องมั่นใจว่าจำนวนของผู้เข้าแข่งขันและเจ้าหน้าที่ประจำทีมในบริเวณนั้นอยู่ในจำนวนที่กำหนดไว้ และจะต้องมีบัตรแสดงตน ( A , B , C , D ) ของเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนรับผิดชอบของแต่ละทีม หากมีข้อแตกต่างอื่นใดจะต้องทำให้ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ (ตามที่ระบุใน กฎกติกาข้อ 4.1-2 และ 4.7-9)
17.4 การเสี่ยงเหรียญ (The coin toss) ผู้ตัดสินท่านหนึ่งจะต้องทำหน้าที่เสี่ยงเหรียญเพื่อเลือกเล่น หรือเลือกแดน ต่อหน้าผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่ประจำทีม หรือผู้เล่นของแต่ละทีมอยู่ด้วย
17.5ตามระเบียบแล้ว ผู้ตัดสินทั้ง 2 ท่านเดิมนั้นจะต้องเป็นผู้ดำเนินการตลอดการแข่งขันหน้าที่ของผู้ตัดสินจะรับรองให้ได้ว่าการแข่งขันนั้นจะต้องเป็นไปตามกฎกติกาและผู้ตัดสินจะต้องลงโทษผู้ที่ทำผิดกติกา (ดูได้ที่ กฎกติกาข้อ 13.2 และ 14.2)
ถ้าหากผู้ตัดสินท่านหนึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่จนจบการแข่งขันได้นั้น ผู้ตัดสินอีกท่านหนึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่เพียงท่านเดียว (สำหรับ IHF และการแข่งขันระดับทวีปนั้น สถานการณ์เช่นนี้จะควบคุมให้สอดคล้องกับกฎกติกาที่เหมาะสม)
17.6 ถ้าหากผู้ตัดสินทั้งสองท่านเป่านกหวีดพร้อมกันเมื่อมีการทำผิดกติกาและพิจารณาว่าจะมีการลงโทษทีมที่ทำผิดกติกาเหมือนกัน แต่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในบทลงโทษ ให้ใช้บทลงโทษที่หนักที่เป็นข้อยุติในการลงโทษ
17.7 ถ้าหากผู้ตัดสินทั้งสองท่านเป่านกหวีดเมื่อมีการทำผิดกติกา หรือลูกบอกออกนอกสนามไป และผู้ตัดสินมีความเห็นที่แตกต่างกันในการถือครองบอลของทีมหนึ่งทีมใดนั้นผู้ตัดสินจะต้องปรึกษาหาข้อสรุปในการตัดสินหากผู้ตัดสินไม่สามารถหาข้อสรุปได้ จะถือเอาคำตัดสินของผู้ตัดสินที่อยู่ในสนาม (court referee)เป็นข้อยุติ
ผู้ตัดสินต้องขอเวลานอก ในขณะที่มีการปรึกษาหาข้อสรุปถือเป็นข้อตกลงโดยจะต้องแสดงสัญญาณมือที่ชัดเจน และการแข่งขันจะเริ่มต้นอีกครั้งหนึ่งก็ต่อเมื่อมีสัญญาณนกหวีด
ดังขึ้น (ตาม ข้อ 2.8 ง และ 15.5)
ดังขึ้น (ตาม ข้อ 2.8 ง และ 15.5)
17.8 ผู้ตัดสินทั้งสองท่านมีหน้าที่ในการควบคุมการบันทึกผลการแข่งขัน ผู้ตัดสินจะต้องบันทึกเกี่ยวกับการเตือนด้วยใบเหลือง การลงโทษสั่งพัก 2 นาที การตัดสิทธิ์และการไล่ออกจากการแข่งขัน
17.9 ผู้ตัดสินทั้งสองท่านมีหน้าที่รับผิดชอบการควบคุมเวลาในการแข่งขันหากมีข้อสงสัยอื่นใดเกี่ยวกับความแม่นยำของเครื่องมือจับเวลา ผู้ตัดสินสามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้
17.10 ผู้ตัดสินมีจะต้องตรวจสอบผลในใบบันทึกการแข่งขันนั้นมีความถูกต้องสมบูรณ์การถูกไล่ออกและการถูกตัดสิทธิ์ตามความผิดที่ปรากฏอยู่ในกฎกติกาข้อ 16.8 ย่อหน้าที่ 4 ผู้ตัดสินต้องทำบันทึกรายงานในใบบันทึกการแข่งขันด้วย
17.11 ผู้ตัดสินจะต้องตัดสินโดยยึดหลักความเป็นจริงที่ปรากฏ และการตัดสินนั้นถือเป็นอันสิ้นสุดการประท้วงการตัดสินนั้น จะไม่เป็นที่ยินยอมให้เกิดขึ้นตามที่ระบุในกฎกติกา
ในระหว่างการแข่งขันนั้นเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในแต่ละทีมมีสิทธิ์ที่จะซักถามผู้ตัดสินได้ด้วยพฤติกรรมที่สุภาพเท่านั้น
17.12 ผู้ตัดสินมีสิทธิ์ที่จะพักการแข่งขันชั่วคราวหรือยกเลิกการแข่งขันได้ ผู้ตัดสินจะต้องพยายามให้การแข่งขันดำเนินต่อไป จนกว่าจะมีการพิจารณายกเลิกการแข่งขันอย่างถาวร
17.13 ผู้ตัดสินจะสวมชุดสีดำเป็นหลักในการทำหน้าที่
กติกาข้อที่ 18 ผู้จับเวลาการแข่งขัน และผู้บันทึกการแข่งขัน (The Timekeeper and the Scorekeeper)
18.1 ผู้ที่จับเวลามีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมเวลาการแข่งขัน การขอเวลานอก และการลงโทษสั่งพัก 2 นาที
ผู้ที่บันทึกการแข่งขันมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับรายชื่อผู้เข้าแข่งขันในใบบันทึก รับผิดชอบผู้เข้าแข่งขันที่มาทำการแข่งขันหลังจากการแข่งขันเริ่มขึ้น รวมทั้งผู้เข้าแข่งขันที่ไม่มีรายชื่อในใบบันทึกลงทำการแข่งขัน ส่วนหน้าที่อื่นๆ เช่น การควบคุมจำนวนผู้เข้าแข่งขันและเจ้าหน้าที่ประจำทีมทีให้อยู่ในบริเวณที่กำหนด ร่วมทั้งการเปลี่ยนตัวผู้เข้าแข่งขัน โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่จับเวลาหรือผู้ควบคุมการแข่งขันของสมาพันธ์ สามารถหยุดการแข่งขันได้ หากมีเหตุจำเป็นเกิดขึ้น
18.2 ถ้าหากไม่มีสกอร์บอร์ดและเครื่องจับเวลาอย่างเป็นทางการที่แสดงให้เห็นเด่นชัดแล้ว ผู้ที่จับเวลาจะต้องแจ้งให้กับเจ้าหน้าที่ประจำทีม ของแต่ละทีมทราบถึงเวลาในการทำการแข่งขัน เวลาที่เหลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการขอเวลานอก
ถ้าหากไม่มีสัญญาณหมดเวลาอัตโนมัติจากสกอร์บอร์ด ผู้ที่จับเวลาการแข่งขันมีหน้าที่ให้สัญญาณเมื่อหมดครึ่งเวลาแรกและครึ่งเวลาหลัง
ถ้าหากสกอร์บอร์ดไม่สามารถแสดงเกี่ยวกับเวลาการถูกสั่งพัก 2 นาทีของผู้เล่น (อย่างน้อย 3 ต่อ 1ทีม สำหรับการแข่งขันของ IHF) ผู้ที่จับเวลาจะต้องตั้งป้ายบอกหมายเลขและเวลาของผู้ที่ถูกสั่งพัก